fbpx
TEP-TEPE Pic1-01

TEP-TEPE หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ อินเตอร์ฯ
จากรั้วธรรมศาสตร์

ถ้าพูดถึงหนึ่งในคณะยอดนิยมสำหรับเด็กสายวิทย์คงต้องยกให้ “วิศวกรรมศาสตร์” เพราะถือเป็นสายวิชาชีพที่ได้ทั้งคิดวิเคราะห์อย่างมีตรรกะและลงมือปฏิบัติจริงอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนอย่างก้าวกระโดดยิ่งส่งผลให้แวดวงวิศวกรได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้เองทางสถาบันวอร์ริคจึงตั้งใจจัดงาน “TEP-TEPE Open House” ขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. นภดล อุชายภิชาติ รองคณบดีฝ่ายบริหารหลักสูตรนวัตกรรม มาอธิบายทั้ง 2 หลักสูตรแบบเจาะลึก พร้อมนักศึกษาปัจจุบันพี่กรดนัย เอี่ยมชีรางกูร นักศึกษาทุน TEPE สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 4 นอกจากนั้นยังมีตัวแทนจาก 3 มหาวิทยาลัยในความร่วมมือของหลักสูตร TEP

(1) Ms. Lucy Rose, Senior ESE Manager – Admissions, Faculty of Engineering, University of Nottingham, UK
(2) Ms. Thanh-Thao Ngo, Manager, Mekong, UNSW Division of Education & Student Experience, UNSW Sydney, Australia
(3) Mr. Niels Matheve, Policy Advisor International Outreach, KU Leuven, Belgium

TEP-TEPE Thammasat คือหลักสูตรอะไร

หลักสูตร TEP-TEPE จัดตั้งโดย TSE (Thammasat School of Engineering) มีเป้าหมายเพื่อสร้างวิศวกรไทยให้มีศักยภาพในระดับนานาชาติ เน้นให้นักศึกษาให้เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ช่วยขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดทั้งหลักสูตร และได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงผ่านการปฏิบัติ

แต่ละหลักสูตรเรียนอะไรบ้าง

TEP-TEPE ทั้ง 2 หลักสูตรเป็นวิศวกรรมศาสตร์โปรแกรมอินเตอร์

TEP (Twinning Engineering Programs) เป็นหลักสูตร Double Degrees นักศึกษาเรียน 2 ปีแรก ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อเรียนรู้ศาสตร์เบื้องต้นของวิศวกรรม และหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่สภาวิศวกรไทยกำหนด ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 4 สาขาวิชา

(1) วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
(2)  วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
(3) วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
(4) วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

ส่วน 2 ปีหลัง (ปี 3 และ ปี 4) สามารถเลือกศึกษาต่อได้ 1 แห่ง จาก 3 มหาวิทยาลัยคู่สัญญาของ TEP อันได้แก่

  • University of Nottingham, Nottingham, United Kingdom
  • University of New South Wales, Sydney, Australia และ
  • KU Leuven, Belgium

ซึ่งมีกำหนดว่ามหาวิทยาลัยที่เลือกไปนั้น ต้องมีสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาที่เลือกเรียนที่ธรรมศาสตร์ใน 2 ปีแรก ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาที่จะไป KU Leuven ได้นั้นจะมีเพียงคนที่เลือกเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าเท่านั้น เพราะตอนนี้ทาง KU Leuven เปิดรับเพียงสาขาวิชาเดียว เป็นต้น หากเลือกเรียนสาขาที่ใหม่ที่ไม่ได้เรียนใน 2 ปีแรก นักศึกษาอาจจะใช้เวลามากกว่ากว่า 4 ปีในการจบ ที่น่าสนใจคือเมื่อจบการศึกษาแล้วนักศึกษาจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตจาก 2 สถาบัน ทั้งจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เลือกไปศึกษาต่อ

TEPE (Thammasat English Programme of Engineering) เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวไกลไปถึงระดับสากล นักศึกษาจะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต การเรียนการสอนเป็นภาษอังกฤษตลอดทั้งหลักสูตร พร้อมโอกาสในการรับทุนการศึกษาเต็มจำนวน และโอกาสในการฝึกงานในองค์กรชั้นนำระดับประเทศที่เป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 4 สาขาวิชา

(1) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและข้อมูล (Electrical and Data Engineering)
(2) สาขาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Civil Engineering and Real Estate Development)
(3) สาขาวิศวกรรมเครื่องกลและการจัดการอุตสาหกรรม (Mechanical Engineering and Industrial Management)
(4) สาขาวิศวกรรมเคมีและการจัดการ (Chemical Engineering and Management)

โดยในปี 3 นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิตจริงในการทำงาน และในปี 4 นักศึกษาก็สามารถเลือกได้ว่าในเทอมสุดท้ายตนเองอยากทำวิจัย ไปฝึกงานระยะยาว หรือไปเรียนแลกเปลี่ยน ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดกว้างอย่างอิสระทางการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาเป็นอย่างมาก

รูปแบบการเรียนการสอนเป็นยังไง

เมื่อทาง TSE มีเป้าหมายเพื่อสร้างวิศวกรไทยให้มีศักยภาพในระดับนานาชาติ แน่นอนว่าการเรียนการสอนต้องไม่ใช่การนั่งเรียนในห้องเป็นส่วนใหญ่ในรูปแบบเดิม ๆ เพราะทุกหลักสูตร และทุกสาขาวิชาจะเน้นการลงมือทำจริง เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเป็นหลัก พร้อมทั้งสนับสนุนให้นักศึกษามีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

Admission Requirement

  • English Proficiency จาก IELTS, TU-GET หรือ TOEFL
  • Standardized Test
  • Math และ Science จาก SAT, GSAT, ACT, IB, A-Level GED หรือ PAT 3
  • Specific Requirement จากการสอบสัมภาษณ์

 จะเห็นได้ว่าทางหลักสูตรค่อนข้างเปิดกว้างให้ว่าที่นักศึกษาสามารถยื่นคะแนนได้หลายรูปแบบ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการเก็บคะแนนให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นเครื่องการันตีว่าเราจะมีที่นั่งในคณะอย่างแน่นอน

มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการพิชิตคะแนน SAT สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick

PATH TO SUCCESS Workshop & family consultation

ทุกคำถามของคุณเกี่ยวกับการสอบเข้าอินเตอร์ฯ
จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ 
เรามีคำตอบให้ในเวิร์คช็อป 1.5 ชั่วโมงนี้