หลายคนโดยเฉพาะน้อง ๆ มัธยมศึกษาปีที่ 6, Year 13 หรือ Grade 12 คงจะค่อนข้างแน่ชัดกับความชอบและคณะที่ใช่ของตัวเองแล้ว แต่บางคนก็อาจจะยังไม่แน่ใจเต็มร้อย หรือรุ่นน้องทั้งหลายที่อาจจะยังไม่รู้ตัวว่าควรจะเริ่มจากตรงไหน ก่อนอื่นเราควรจะมาทำความรู้จักกันก่อนว่าสิ่งที่เราชอบหรืออยากจะเป็นในอนาคตนั้น ตรงกับโปรแกรมไหนที่เขาเปิดรับกันอยู่ และไม่แน่ว่าพอได้หาข้อมูลว่าแต่ละคณะสอนอะไร เราอาจจะเพิ่งได้ค้นพบความสนใจที่ตรงกันขึ้นมาก็ได้
เพื่อให้ง่ายเข้าไปอีกที่ Warwick Institute เราเลยแบ่งคณะที่เปิดสอนโปรแกรมอินเตอร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยโฟกัสตามความสนใจหลัก คือ (1) Business, (2) Language, (3) Social Science, (4) Science และ (5) Art & Design หาตัวเองให้เจอก่อนว่ามาทางสายไหน แล้วค่อยมาศึกษารายละเอียดของหลักสูตรในแต่ละคณะที่เปิดสอน วิธีนี้จะช่วยให้เรามุ่งเป้าความชอบและสนใจให้ตรงจุดขึ้นไปอีกได้ ตัวอย่างเช่นเราอาจจะรู้ตัวว่าชอบทางด้านธุรกิจแล้ว เราจะต้องค้นหาตัวเองต่อไปอีกว่าชอบธุรกิจในแง่มุมไหน ชอบเรื่องธุรกิจทั่วไป การตลาด การเงิน ก็ไปเรียนพาณิชย์บัญชี (BBA Chula/ BBA Thammasat) หรือสนใจเชิงเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคารก็ไป เศรษฐศาสตร์ (EBA Chula/ BE Thammasat) หรือชอบธุรกิจที่โฟกัสเรื่องการสื่อสารไปโดยตรงก็ไป นิเทศศาสตร์ Comm Arts Chula ให้เลือก
ตอนนี้เราจะเริ่มเห็นแล้วว่าโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์นั้นมีให้เลือกหลากหลาย แค่ศึกษารายละเอียดว่าจะเรียนอะไรดีก็น่าสนุกแล้ว นอกจากที่กล่าวมานี้ก็ยังมีรายชื่อคณะที่เปิดสอนโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ทั้งสิ้น 37 คณะดังต่อไปนี้
กลุ่ม Business
Faculty | Detail |
---|---|
BBA | คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
EBA/ BE | คณะเศรษฐศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Comm Arts | คณะนิเทศศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
BAScii | หลักสูตรนวัตกรรมบูรณาการ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
กลุ่ม Language
Faculty | Detail |
---|---|
BALAC | คณะอักษรศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
BAS | คณะศิลปศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
BEC | คณะศิลปศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ โครงการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
PBIC | วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ |
กลุ่ม Social Science
Faculty | Detail |
---|---|
JIPP | คณะจิตวิทยา โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
PGS | หลักสูตรรัฐศาสตร์นานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
LLBel | คณะนิติศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
BJM | คณะวารสารศาสตร์ฯ โปรแกรมอินเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
BIR | คณะรัฐศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
LLB | คณะนิติศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
GSSE | หลักสูตรปริญญาตรีสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
SPD | คณะสังคมศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
BSI | วิทยาลัยนวัตกรรม โปรแกรมอินเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
PPE | ปรัชญา การเมือง เศรษฐศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสต |
กลุ่ม Science
Faculty | Detail |
---|---|
ISE | คณะวิศวกรรมศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ChPE | สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
BSAC | คณะวิทยาศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
BBTech | สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
MD | คณะแพทยศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
DENT | คณะทันตแพทยศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
VET | คณะสัตวแพทยศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
TEP/TEPE | คณะวิศวกรรมศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
SIIT | สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
CICM | วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
BNS | คณะพยาบาลศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
กลุ่ม Art & Design
Faculty | Detail |
---|---|
INDA | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
COMM DE | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์หลักสูตรการออกแบบนิเทศศิลป์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
UDDI | โครงการหลักสูตรการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
DBTM | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โปรแกรมอินเตอร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
แต่เคล็ดลับสำคัญที่สุดที่ไม่ว่าเราจะอยากเข้าคณะไหนก็ต้องใส่ใจนั่นก็คือเมื่อไรก็ตามที่เรากำคะแนน SAT Math Full Marks มาไว้ให้อุ่นใจได้แล้ว ก็เหมือนเราได้ถือไพ่ที่เหนือกว่า เพราะคณะยอดฮิตเกือบทุกคณะใช้คะแนน SAT Math เป็นพื้นฐานการตัดสิน ยิ่งบวกกับคะแนน IELTS ระดับ 7 ขึ้นไป หนทางก็จะยิ่งสว่างไสวขึ้น เพราะทุกโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ใช้ IELTS เป็นมาตรฐาน IELTS นั้นใช้ยื่นได้ทั้งสองที่ แค่มี IELTS ก็ลืม CU-TEP กับ TU-GET ไปได้เลย
หากตอนนี้มีความฝันแล้วก็ลุยไปให้ถึงฝัน แต่หากยังไม่เคลียร์เรื่องความฝันของตนว่าจะเข้ากลุ่มคณะไหนดีเพราะตนเองเพิ่งอยู่ ม.3-5 ก็อย่าเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์โดยไม่เริ่มทำอะไรเลย อย่างน้อยน้อง ๆ ก็ต้องใช้ SAT Math และ IELTS เพราะฉะนั้นเตรียมคะแนนสองตัวนี้ให้สูงที่สุดไว้ก่อนระหว่างตามหาความฝัน คะแนนสอบสามารถเก็บได้ 2 ปี พอถึง ม.6 ตอนได้พบความฝันเมื่อไหร่ น้อง ๆ ก็สามารถเอาคะแนนตรงนี้มาใช้ได้ทันที ในทางกลับกันหากปล่อยให้ตัวเองตามหาความฝันไปเรื่อย ๆ โดยไม่เตรียมตัวเลย พอถึง ม.6 อาจเตรียมตัวไม่ทันหรือได้คะแนนสูงไม่พอสำหรับคณะในฝัน ดังนั้นจงอย่าเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์เริ่มเตรียมตัวกันเสียตั้งแต่วันนี้เพื่อที่นั่งในโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์