แต่การจะได้มาซึ่งแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาที่ดีนั้นมันต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์จากหลากมุมมองและหลายมิติ และที่สำคัญคือต้องรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นได้ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นคุณสมบัติของนักคิดผู้พร้อมแก้ปัญหาที่เราหาได้จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แน่นอนนว่าสิ่งที่เยาวชนรุ่นใหม่หลายคนที่เป็นนักคิดใฝ่ฝันนั่นคือการได้เป็นสิงห์ดำ เด็กรัฐศาสตร์ในรั้วจามจุรี ดังนั้นสถาบันวอร์ริคจึงจัดงาน PGS Open House ขึ้น ซึ่งเราได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.จักรกริช สังขมณี ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา (Politics and Global Studies) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งน้องท็อป วรภัทร มนูญสัมฤทธิ์ ศิษย์เก่าวอร์ริค
รุ่นที่ 11 นิสิต PGS ชั้นปีที่ 1 มาช่วยตอบคำถามในทุกประเด็นอย่างเจาะลึกให้กับผู้ปกครองและน้อง ๆ ทุกคน

ทำไมต้อง PGS Chula
รายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรไม่ใช่เป็นการนำเนื้อหาจากภาคภาษาไทยมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ แต่เป็นการสร้างสรรขึ้นมาใหม่ผ่านการวิจัย และค้นหาข้อมูลจากศิษย์เก่าว่าทักษะไหนที่สำคัญสำหรับพวกเขา และอะไรคือสิ่งที่พวกเขาต้องการจริง ๆ แต่ยังคงแก่นสำคัญของการเรียนรัฐศาสตร์ไว้ อีกทั้งรายวิชาจะมีความยืดหยุ่น ไม่ได้ต้องยึดว่าต้องเรียนตามลำดับเหมือนของภาคไทย โดยทางคณะได้คัดเลือกอาจารย์ที่สอนเก่ง ๆ มาสอนในวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจสำหรับผู้เรียน และที่สำคัญ PGS เรียนแค่ 4 ปีแต่ได้ปริญญาถึง 2 ใบ
ทั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์ 1) University of Queenland ประเทศออสเตรเลีย หรือ
2) University of Essex ประเทศอังกฤษและแน่นอนว่าหลักสูตรการเรียนในไทยกับต่างประเทศมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่ต้องสงสัย
คุณลักษณะใดเหมาะที่จะเรียน PGS Chula
คนที่ชอบคิด ชอบฟัง และชอบหาทางออกสำหรับปัญหาต่าง ๆ เหมาะกับหลักสูตรนี้เป็นอย่างมาก เพราะการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม องค์ประกอบ ปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงเหล่าคณาจารย์จะช่วยดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งส่งเสริมทักษะต่าง ๆ
ให้นิสิตเป็นตัวของตัวเองในแบบฉบับที่ดีกว่าเดิมอย่างแน่นอน
นิสิตทุกคนจะได้ไปเรียนต่างประเทศด้วยใช่ไหม
นิสิตทุกคนจะได้ไปเรียนในมหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์และได้รับปริญญาทั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกใบหนึ่งจาก
University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย หรือ University of Essex ประเทศอังกฤษ ตาม Track ที่แต่ละคนเลือกไว้อยู่แล้วตั้งแต่ตอนลงทะเบียนเรียน ซึ่ง University of Queensland จะเด่นในเรื่องของการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม และนิสิตจะได้ไปช่วงปี 2 – ปี 3 ส่วน University of Essex จะเด่นในเรื่องของการเมืองการปกครอง และนิสิตจะต้องไปเรียนแลกเปลี่ยนช่วงปี 1 – ปี 2

การเรียนการสอนเป็นอย่างไร
การเรียนการสอนของที่นี่จะเป็นแบบ Issued-base learning หยิบยกประเด็นปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาแล้วมาช่วยกันคิดว่านโยบายต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องนั้นมีข้อดีตรงไหนที่ควรสนับสนุน มีช่องโหว่อะไรที่ควรปรับเปลี่ยน หรือมีข้อเสียจุดไหนที่ต้องปรับปรุง ซึ่งจะช่วยให้นิสิตเป็นคนที่มองปัญหาจากมุมกว้างเป็น คิดวิเคราะห์ได้หลายมิติ และแสดงความคิดเห็นได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งถือเป็นทักษะที่ดีที่สามารถนำไป
ปรับใช้ได้ในทุกสถานการณ์ นอกจากนี้ทางคณะยังยึดหลัก “สามย่าน” การเรียนรู้ด้วย
(1) Knowledge ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งแบบสหสาขาวิชาชีพและความรู้เฉพาะ
(2) Inspiration สร้างแรงบันดาลใจควบคู่กับเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสประสบการณ์ที่หลากหลายทางวัฒนธรรม
(3) Commitment ผลักดันให้นิสิตเป็นผู้นำที่มุ่งมั่น มีความรับผิดชอบ และมีใจเปิดกว้าง ส่วนในต่างประเทศเองทุกคนก็จะได้เรียนรู้
มุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม มีหลักคิดในบริบทของสากลมากกว่าที่เคย และสามารถมองปัญหาและสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบด้าน
ได้มากยิ่งขึ้น

อยากเป็นสิงห์ดำต้องเตรียมตัวยังไง
จะเป็นสิงห์ดำได้ต้องเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ หมั่นฝึกฝนคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น COVID-19 มีผลกระทบต่อประชากรโลกอย่างไร ให้ลองมองให้รอบด้าน ทั้งการเมือง สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและอื่น ๆ
ว่ามีความเชื่อมโยงกันยังไง และมีวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละด้านอย่างไรบ้าง ซึ่งต้องผ่านการอ่าน การฟัง และร่วมแสดงความคิดเห็น
กับคนอื่นอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

Admission Requirement เป็นอย่างไร
PGS มีเกณฑ์การคัดเลือกโดยการแบ่งสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ ออกเป็น 3 ส่วนอันได้แก่
1) English Proficiency (20%) ต้องมีคะแนนขั้นต่ำ IELTS 6.5+ (6.0 in each Band) หรือ TOEFL IBT 87+
2) Standardized Test (50%) ต้องมีคะแนน SAT Verbal ขั้นต่ำ 550 หรือมีคะแนน Total Score ไม่ต่ำกว่า 1200
3) Specific Requirements (30%)
– GPAX 3.00+
– Interview
จะเห็นได้ว่าส่วนที่น่าจับตามองมากที่สุดนั่นคือ Specific Requirement อันได้แก่การสอบสัมภาษณ์ที่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่มีโอกาสแก้ตัวเหมือนการสอบ SAT หรือ IELTS ดังนั้นเราต้องหมั่นฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต้องตีโจทย์ให้แตก เพื่อที่จะได้เป็น “สิงห์ดำ” ตัวจริง
มีคำถามข้อสงสัยหรืออยากทราบเทคนิคการเรียกคะแนนในส่วนของ Specific Requirement สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick