fbpx
PGS

PGS Chula สนามการเรียนรู้เพื่อนักคิดรุ่นใหม่

หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ทุกปัญหามีทางออก” ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัวเรื่องเล็ก ๆ ปัญหาระดับชาติ หรือปัญหาใหญ่ระดับโลกก็ย่อมมีวิธีปรับปรุงแก้ไข เพื่อหาจุดตรงกลางที่ดีสำหรับทุกฝ่าย

แต่การจะได้มาซึ่งแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาที่ดีนั้นมันต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์จากมุมมองที่แตกต่าง มิติที่หลากหลาย และที่สำคัญคือต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นได้ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นคุณสมบัติของนักคิดผู้พร้อมแก้ปัญหาที่เป็นที่ต้องการในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งหาได้จากนิสิตคณะรัฐศาสตร์ อินเตอร์ จุฬาฯ หรือ PGS Chula

สิ่งที่นักคิดรุ่นใหม่หลายคนนั้นต่างใฝ่ฝัน คือการที่จะได้เป็นสิงห์ดำ หรือ เด็กรัฐศาสตร์ในรั้วจามจุรี ดังนั้นสถาบันวอร์ริคจึงร่วมกับ PGS Chula จัดงาน PGS Open House ขึ้น เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565 ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.วิมลมาศ ศรีจำเริญ ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา(Politics and Global Studies) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ PGS พร้อมทั้งเหล่ารุ่นพี่นิสิต PGS ซึ่งเป็นศิษย์เก่าวอร์ริคมาร่วมแชร์ประสบการณ์ตรงกันอย่างเข้มข้น 
1) พี่ท็อป – วรภัทร มนูญสัมฤทธิ์ นิสิต PGS ชั้นปีที่ 3 
2) พี่พาย – วีรดา กลกิจโกวินท์ นิสิต PGS ชั้นปีที่ 2 
3) พี่เจ – จิรัฏฐ์ พยงค์ศรี นิสิต PGS ชั้นปีที่ 1
4) พี่ภู – ภูธฤต เติมวาณิช นิสิต PGS Chula ชั้นปีที่ 1

ทำไมต้อง PGS Chula

รายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรไม่ใช่เป็นการนำเนื้อหาจากภาคภาษาไทยมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ แต่เป็นการสร้างสรรขึ้นมาใหม่ผ่านการวิจัยและค้นหาข้อมูลจากศิษย์เก่าว่าทักษะไหนที่สำคัญสำหรับพวกเขา จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาตกตะกอนว่าอะไรคือสิ่งที่นิสิตต้องการจริง ๆ โดยยังคงแก่นสำคัญของการเรียนรัฐศาสตร์ นอกจากนั้นรายวิชาจะมีความยืดหยุ่น ไม่ได้ยึดติดว่าต้องเรียนตามลำดับเนื้อหาเหมือนหลักสูตรภาคไทย ทั้งนี้ทางคณะได้คัดเลือกอาจารย์หัวกะทิที่ได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจสำหรับผู้เรียนมาสอนในวิชาต่าง ๆ

ที่สำคัญ PGS เรียนแค่ 4 ปีแต่ได้ปริญญาถึง 2 ใบ ทั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์ ประกอบไปด้วย 2 Tracks คือ 1) University of Queenland ประเทศออสเตรเลีย หรือ 2) University of Essex ประเทศอังกฤษ ซึ่งแน่นอนว่าหลักสูตรการเรียนในไทยกับต่างประเทศมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกันอย่างไม่ต้องสงสัย

 

คุณสมบัตินักเรียนแบบไหนที่เหมาะจะเรียน PGS Chula

บุคคลที่ชอบสังเกต ชอบตั้งคำถาม ชอบฟัง และชอบหาทางออกสำหรับปัญหาต่าง ๆ เหมาะกับหลักสูตรนี้เป็นอย่างมาก เพราะการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม องค์ประกอบ ปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงเหล่าคณาจารย์จะช่วยดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาให้ได้มากที่สุด ให้นิสิตได้พัฒนาตนเองและเรียนรู้จากการลงมือทำ ส่งเสริมทักษะ Critical Thinking ให้นิสิตสามารถวิเคราะห์เชิงลึกพร้อมนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้นิสิตเป็นตัวของตัวเองในแบบฉบับที่ดีกว่าเดิม

นิสิตทุกคนจะได้ไปเรียนต่างประเทศด้วยใช่ไหม

นิสิตทุกคนจะได้ไปเรียนในมหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์และได้รับปริญญาทั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกใบหนึ่งจาก University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย หรือ University of Essex ประเทศอังกฤษ ตาม Track ที่แต่ละคนเลือกไว้อยู่แล้วตั้งแต่ตอนลงทะเบียนเรียน ซึ่ง University of Queensland จะเน้นในเรื่องของการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม ส่วน University of Essex จะโดดเด่นในเรื่องของการเมืองการปกครอง โดยปี 1 และ ปี 4 นิสิตจะเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วน 2 ปีตรงกลางนั้นไปเรียนต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์

การเรียนการสอนเป็นอย่างไร

การเรียนการสอนของที่นี่จะเป็นแบบ Issued-base learning หยิบยกประเด็นปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาแล้วมาช่วยกันคิดว่านโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นมีข้อดีตรงไหนที่ควรสนับสนุน มีช่องโหว่อะไรที่ควรปรับเปลี่ยน หรือมีข้อเสียจุดไหนที่ต้องปรับปรุง ซึ่งจะช่วยให้นิสิตเป็นคนที่มองปัญหาจากมุมกว้างเป็น        คิดวิเคราะห์ได้หลายมิติ และแสดงความคิดเห็นได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งถือเป็นทักษะที่ดีที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ในขณะเดียวกันทางคณะยังยึดหลัก “สามย่าน” การเรียนรู้ด้วย 

  1. Knowledge ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งแบบสหสาขาวิชาชีพและความรู้เฉพาะทาง 
  2. Inspiration สร้างแรงบันดาลใจควบคู่กับเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสประสบการณ์ที่หลากหลายทางวัฒนธรรม 
  3. Commitment ผลักดันให้นิสิตเป็นผู้นำที่มุ่งมั่น มีความรับผิดชอบ และมีใจเปิดกว้าง ส่วนในต่างประเทศเองทุกคนก็จะได้เรียนรู้มุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม มีหลักคิดในบริบทของสากลมากกว่าที่เคย และสามารถมองปัญหาและสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบด้านได้มากยิ่งขึ้น

อยากเป็นสิงห์ดำต้องเตรียมตัวยังไง

จะเป็นสิงห์ดำได้ต้องเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานใหม่ และฝึกคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น สงครามรัฐเซีย – ยูเครนมีผลกระทบต่อสัมคมโลกอย่างไร เราต้องรู้ข้อมูลเบื้องหลังก่อนถึงจะเข้าใจปัญหา จากนั้นจึงมองให้รอบด้าน ทั้งการเมือง สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและอื่น ๆ ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร และมีแนวทางวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละด้านอย่างไรบ้าง สิ่งเหล่านี้จักเกิดขึ้นได้ต้องผ่านการอ่าน การฟัง และร่วมแสดงความคิดเห็นกับพี่หมิง อาจารย์ Warwick Institute ที่ดูแลคอร์ส PGS พร้อมกับเพื่อนในคลาส PGS และที่สำคัญคือต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

Admission Requirement เป็นอย่างไร

PGS มีเกณฑ์การคัดเลือกโดยการแบ่งสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ ออกเป็น 3 ส่วนอันได้แก่ 

1) English Proficiency (20%) ต้องมีคะแนนขั้นต่ำ IELTS≥6.5 (6.0 in each Band) หรือ TOEFL IBT≥87
2) Standardized Test (50%) ต้องมีคะแนน SAT Verbal ขั้นต่ำ 550 หรือมีคะแนน Total Score ไม่ต่ำกว่า 1200
3) Specific Requirements (30%)
          – GPAX 3.00+
          – Interview

จะเห็นได้ว่าส่วนที่น่าจับตามองมากที่สุดนั่นคือ Specific Requirement อันได้แก่การสอบสัมภาษณ์ที่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่มีโอกาสแก้ตัวเหมือนการสอบ SAT หรือ IELTS ส่วนนี้จึงเป็นส่วนสำคัญที่อาจเป็นการตัดสินด่านสุดท้ายว่าเราจะเอนท์ติดหรือไม่ ดังนั้นเราต้องหมั่นฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและตีโจทย์ให้แตก มั่วตอบคำถามไม่ได้ หากนักเรียนอยากจะได้เป็น “สิงห์ดำ” ตัวจริง ทำให้การเตรียมตัวในคอร์ส PGS กับพี่หมิงนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นต้องเตรียมตัวอย่างเนิ่น ๆ 

 

มีคำถามข้อสงสัยหรืออยากทราบเทคนิคการเรียกคะแนนในส่วนของ Specific Requirement “คอร์ส PGS” สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick­ หรือคลิก https://lin.ee/1s22ckD

PATH TO SUCCESS Workshop & family consultation

ทุกคำถามของคุณเกี่ยวกับการสอบเข้าอินเตอร์ฯ
จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ 
เรามีคำตอบให้ในเวิร์คช็อป 1.5 ชั่วโมงนี้