มีเทคโนโลยี และสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นมามากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และปฏิวัติอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มีศักยภาพสูงสุด ทำให้การเรียนวิศวะฯ ในรูปแบบหรือบริบทแบบเดิม อาจไม่เพียงพอต่อการพัฒนาอีกต่อไป ดังนั้น “ISE Chula” (INTERNATIONAL SCHOOL OF ENGINEERING) หรือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติ
จึงรังสรรค์รูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ให้ก้าวไกลมากยิ่งขึ้น
ISE นั้นอยู่ในสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่สาขาวิชาที่เรียนนั้นต่างกับภาคไทยโดยสิ้นเชิง ความเหมือนในความแตกต่างนี้ทำให้สถาบันวอร์ริคตั้งใจจัดงาน “Engineering Open House” ขึ้น ซึ่งได้รับเกียรติจากทางรองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร และ ดร. จอน โพเวล อาจารย์ประจำภาควิชา รวมถึง 3 ศิษย์เก่าของสถาบันวอร์ริค มะตูม – พุดกรอง อุทิศวรรณกุล, วิน – กิตตน์อรรจ วัฒนาวีรชัย และ อิก – พิชญา พันธุ์โสภา มาร่วมพูดคุยและตอบคำถามกันแบบเจาะลึก ครบทุกประเด็น

ทำไมต้อง ISE Chula
เรียนวิศวะฯ ที่ ISE จะได้อะไรที่มากกว่าแค่องค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เพราะกว่าจะมาเป็นหลักสูตร และสาขาอย่างทุกวันนี้ทางคณาจารย์และมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันวิเคราะห์กลั่นกลองและสร้างสรรค์ออกมากจากการมองเห็นความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบการศึกษาเทรนระดับสากลเพื่อรองรับความต้องการระดับโลก โดยเน้นการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ (Multidisciplinary) ให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ที่หลากหลาย เพื่อผลักดันให้ทุกคนเป็น “World Class Engineer”

ISE เรียนอะไรบ้าง
ทางคณะได้ศึกษา วิจัย และสร้างสรรค์หลักสูตรออกมาอย่างหลากหลาย แบ่งออกเป็น 5 วิชาสาขา
- ADME (Automotive Design and Manufacturing Engineering) วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ เรียนเกี่ยวกับเครื่องกล ยานยนต์ รวมถึงการออกแบบ เพื่อที่นิสิตจะสามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาผสมผสานและประยุกต์ใช้ได้อย่างลงตัว
- AERO (Aerospace Engineering) วิศวกรรมอากาศยาน เรียนเกี่ยวกับเครื่องบินและยานยนต์ รวมถึงมีชมรมสำหรับโดรนที่กำลังจะกลายมาเป็นพาหนะที่ใช้ทดแทนทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย
- Nano (Nano Engineering) วิศวกรรมนาโน เรียนทางด้านเทคโนโลยีนาโนที่มีขนาดเล็ก เพื่อนำไปประยุกต์ พัฒนา และปรับปรุงคุณสมบัติวัสดุหรือวัตถุดิบต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น Packaging และ Cosmetic ซึ่งถือเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในเอเชีย
- ICE (Information & Communication Engineering) – วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารเรียนเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม การสร้างซอฟต์แวร์ เพื่อนำมาซึ่งเครื่องมือในการสื่อสารที่จะช่วยแก้ปัญหาและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม อย่างแอพพลิเคชั่น “CU Pop Bus” และ “ViaBus” ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานของนิสิต ISE ภาค ICE ทั้งสิ้น
- AI (Robotic and AI) วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ สาขาเปิดใหม่ที่หลายคนเทใจอยากเรียน สาขานี้เน้นการเรียนเกี่ยวกับหุ่นยนต์ คิดค้นตัวสมอง รวมถึงออกแบบโครงสร้างต่าง ๆ ทั้งหมดให้ทำงานเชื่อมโยงกันได้อยากมีประสิทธิภาพ ซึ่งแน่นอนว่าในอนาคตหุ่นยนต์จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแทบทุกอุตสาหกรรม
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร
ในบางรายวิชาแต่ละสาขาจะได้มาเรียนร่วมกัน ทำให้เกิดมิตรภาพและความคุ้นเคยกับเพื่อนต่างสาขาได้ไม่ยาก นอกจากนี้ทางคณะนั้นเน้นการเรียนแบบลงมือปฎิบัติจริง (Project Based Learning) เพราะอาจารย์ทุกคนเชื่อว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่นิสิตได้ลองสร้างชิ้นงานด้วยมือของตัวเอง นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้นิสิตได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมชมรมต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจ หรือกิจกรรมของมหาวิทยาลัยก็ตาม ซึ่งก็จะมีห้องสมุด และ ISE International Hub เป็นพื้นที่ที่คอยซัพพอร์ตทุกคนอยู่เสมอ

เรียนรู้เกี่ยวกับ Exchange Program
ISE มีความหวังว่านิสิตทุกคนจะต้องไปเรียนแลกเปลี่ยนต่างประเทศในมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างน้อย 1 เทอม – 1 ปี ไม่ว่าจะเป็น Dartmouth College ที่สหรัฐอเมริกา, Linkoping University ประเทศสวีเดน, National Taiwan University ในไต้หวัน หรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ใน MOU แล้วนำใบ Transcript มายื่นให้กับทางคณะ โดยที่นิสิตไม่ต้องจ่ายค่าเทอมให้กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ แถมยังได้ทุนสนับสนุนจากทางคณะคนละ 30,000 บาทอีกด้วย
จบแล้วทำงานอะไร
นิสิตที่จบจาก ISE ไปนั้นเรียกได้ว่าสามารถทำงานได้หลากหลาย เนื่องจากได้รับการฝึกให้เรียนรู้แบบสหวิทยาการ ลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งมีตรรกะกระบวนการคิดที่เป็นระบบ จบไปแล้วจะไปทำงานด้านวิศวะฯ ก็ได้ ต่อยอดเป็นนักวิจัย นักพัฒนา หรือทำงานด้านกลยุทธ์ก็โดดเด่นไม่เหมือนใคร เรียกได้ว่าปรับตัวไปทำงานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
อยากเข้าคณะนี้ต้องเตรียมตัวยังไง
ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ถ้าเราตั้งใจและลงมือทำ ศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบันของ ISE ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องหมั่นฝึกฝนและทำข้อสอบอยู่เสมอ ทำซ้ำ ๆ ทำเยอะ ๆ เวลาเราเจอโจทย์ที่คล้ายกับหรือลักษณะเดียวกันจะทำให้เราตีโจทย์แตกได้ไม่ยาก และแนะนำว่าให้เริ่มฝึกจากวิชาที่ไม่ค่อยถนัดก่อน แล้วค่อย ๆ ทำไปทีละวิชา เพื่อไม่ให้เป็นการกดดันตัวเองมากจนเกินไป พยายามอย่างมีสมดุลความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล
Admission Requirement
เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทาง College Board ยกเลิกการสอบ SAT Subject Test อย่างเป็นทางการ โดยการสอบรบ May & June 64 จะเป็น 2 รอบสุดท้าย ดังนั้นจึงขอสรุป 8 ประเด็นร้อนจากงาน Engineering Open House ดังนี้
- ISE จะไม่มีการเปิด Major ใหม่ใน 2 – 3 ปีนี้ เพราะการเปิด Major เพิ่มนั้นต้องทำการศึกษา ค้นคว้า เก็บข้อมูลอย่างละเอียด รวมทั้งต้องเป็นความต้องการของโลกยุคอนาคตด้วย
- ISE’65 & ISE’66 ยังใช้ SAT Subject Tests ได้ เพราะคะแนนสามารถเก็บได้ 2 ปี
- ใครที่ต้องการใช้คะแนน SAT Subject Tests ในการยื่นเข้า ISE ต้องสมัครสอบและเตรียมตัวให้ทันในรอบ May – June 2021
- ISE’67 ไม่มี SAT Subject Test แล้ว เพราะคะแนนจะหมดอายุก่อนวันที่คณะเปิดรับสมัคร
- ยื่น SAT Math แทน CU-AAT Math ไม่ได้ เพราะข้อสอบทั้ง 2 รูปแบบวัดความรู้กันคนละด้าน
- ISE ยังไม่มีแผนทำ Standardised Test ด้วยตนเอง เพราะการจะจัดสอบนั้นต้องศึกษาข้อมูล และคิดวิเคราะห์ในหลายมิติอย่างเป็นระบบ รวมทั้งต้องได้รับการเห็นชอบจากทางมหาวิทยาลัย
- ISE มีหลักการเทียบคะแนนระหว่าง SAT Subject Test, CU-ATS, A-Level และ IB ที่เป็นมาตรฐาน ด้วยหลักการเชิงสถิติที่เชื่อถือได้ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้
- คอร์ส Intensive จะเป็นคอร์สพิเศษสำหรับการตะลุยโจทย์ เพื่อพิชิตคะแนนสำหรับ ISE โดยเฉพาะ เรียนจบพร้อมสอบ SAT Subject Tests 2 รอบสุดท้าย May & June 2021

นอกจากนี้สถานการณ์โควิด-19 ที่กล่าวมาข้างต้นก็ส่งผลให้ทางคณะไม่มีการสอบสัมภาษณ์ด้วย ทำให้สัดส่วนคะแนนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยมีเกณฑ์ดังนี้
- English Proficiency จาก IELTS, CU-TEP หรือ TOEFL (Weight 20%)
- Standardized Test
- SAT Math & SAT II Math Level 2 หรือ CU-AAT Math (Weight 32.5%)
- SAT II Physics & SAT II Chemistry หรือ CU-AAT Physics & CU-AAT Chemistry (Weight 40%)
- Specific Requirement จาก GPAX (Weight 7.5%)
จะเห็นได้ชัดว่าตัวตัดสินสำคัญนั้นอยู่ที่คะแนนจาก SAT ทั้งสิ้น และที่สำคัญคณะนี้ใครได้คะแนนสูงกว่ามีสิทธิ์เลือกสาขาก่อน เอนท์ติดยังไม่ได้แปลว่าเราจะได้เรียนในสิ่งที่ฝัน ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือเก็บคะแนนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นแต้มต่อสำหรับประตูสู่สาขาที่อยากเรียน
มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการพิชิตคะแนน SAT สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick