fbpx
edit1-01

ISE Chula วิศวะ อินเตอร์ฯ จุฬาฯ
สร้างวิศวกรระดับโลก

สำหรับเด็กสายวิทย์คณะในฝันที่หลาย ๆ คนอยากเอนท์ติดมากที่สุดมั่นใจได้เลยว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ นั้นไม่เป็นสองรองใครอย่างแน่นอน

และด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้โลกของเราหมุนเร็วกว่าเดิม มักมีเทคโนโลยีและสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นมามากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และปฏิวัติอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มีศักยภาพสูงสุด ส่งผลให้การเรียนวิศวะฯ ในรูปแบบหรือบริบทแบบเดิมไม่เพียงพอต่อการพัฒนาอีกต่อไป ดังนั้น “ISE Chula” (International School of Engineering) หรือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติจึงรังสรรค์รูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ให้ก้าวไกลมากยิ่งขึ้น

ISE นั้นอยู่ในสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่สาขาวิชาที่เรียนนั้นต่างกับภาคไทยโดยสิ้นเชิง ความเหมือนในความแตกต่างนี้ทำให้สถาบันวอร์ริคตั้งใจจัดงาน “Engineering Open House” ขึ้น ซึ่งได้รับเกียรติจากทางรองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร พร้อม 4     ศิษย์เก่าของสถาบันวอร์ริค (1) ครีม – รมิดา รุ่งโรจน์, (2) ฮาร์ต – พิจักษณ์ วณิชยากร, 
(3) วิน – กิตตน์อรรจ วัฒนาวีรชัย และ (4) มะตูม – พุดกรอง อุทิศวรรณกุล มาร่วมพูดคุยและตอบคำถามกันแบบเจาะลึก ครบทุกประเด็น

ทำไมต้อง ISE Chula

เรียนวิศวะฯ ที่ ISE จะได้อะไรที่มากกว่าแค่องค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ เพราะกว่าจะมาเป็นหลักสูตร และแต่ละสาขาอย่างทุกวันนี้ทางคณาจารย์และมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันวิเคราะห์กลั่นกลองและสร้างสรรค์ออกมากจากการมองเห็นความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ ควบคู่ไปกับการศึกษาเทรนระดับสากลเพื่อรองรับความต้องการระดับโลก โดยเน้นการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ (Multidisciplinary) ให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ที่หลากหลาย เพื่อผลักดันให้ทุกคนเป็น “World Class Engineer”

ISE เรียนอะไรบ้าง

ทางคณะได้ศึกษา วิจัย หลักสูตรออกมาอย่างหลากหลาย แบ่งออกเป็น 5 วิชาสาขา

  1. ADME (Automotive Design and Manufacturing Engineering)  วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ เรียนเกี่ยวกับเครื่องกล ยานยนต์ รวมถึงการออกแบบ เพื่อที่นิสิตจะสามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาผสมผสานและประยุกต์ใช้ได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งเปิดรับและประยุกต์องค์ความรู้ใหม่อย่างรถยนต์ไฟฟ้า ที่จะกลายเป็นยานยนต์นวัตกรรมแห่งอนาคต
  2. AERO (Aerospace Engineering) วิศวกรรมอากาศยาน เรียนเกี่ยวกับเครื่องบินและยานยนต์ รวมถึงมีชมรมสำหรับโดรนที่กำลังจะกลายมาเป็นพาหนะที่ใช้ทดแทนทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย ที่ปัจจุบันวิศวกรทางด้านนี้กำลังขาดแคลนทั้งในตลาดประเทศไทยรวมถึงตลาดโลกด้วย
  3. Nano (Nano Engineering) วิศวกรรมนาโน เรียนทางด้านเทคโนโลยีนาโนที่มีขนาดเล็ก เพื่อนำไปประยุกต์ พัฒนา และปรับปรุงคุณสมบัติวัสดุหรือวัตถุดิบต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น Packaging, Cosmetic และ Medicine ที่ช่วยเยียวยาและรักษาซึ่งถือเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในเอเชีย
  4. ICE (Information & Communication Engineering) – วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารเรียนเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม การสร้างซอฟต์แวร์ เพื่อนำมาซึ่งเครื่องมือในการสื่อสารที่จะช่วยแก้ปัญหาและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม อย่างแอพพลิเคชั่น “CU Pop Bus” และ “ViaBus” ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานของนิสิต ISE ภาค ICE ทั้งสิ้น
  5. AI (Robotic and AI) วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ สาขาเปิดใหม่ที่หลายคนเทใจอยากเรียน สาขานี้เน้นการเรียนเกี่ยวกับหุ่นยนต์ คิดค้นตัวสมอง รวมถึงออกแบบโครงสร้างต่าง ๆ ทั้งหมดให้ทำงานเชื่อมโยงกันได้อยากมีประสิทธิภาพ ซึ่งแน่นอนว่าในอนาคตหุ่นยนต์จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแทบทุกอุตสาหกรรม

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร

ในบางรายวิชาแต่ละสาขาจะได้มาเรียนร่วมกัน ทำให้เกิดมิตรภาพและความคุ้นเคยกับเพื่อนต่างสาขาได้ไม่ยาก นอกจากนี้ทางคณะนั้นเน้นการเรียนแบบลงมือปฎิบัติจริง (Project-Based Learning) เพราะอาจารย์ทุกคนเชื่อว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่นิสิตได้ลองสร้างชิ้นงานด้วยมือของตัวเอง ให้ทุกคนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ภาค AERO อาจารย์ให้นิสิตออกแบบเครื่องบินออกมาให้บินได้ โดยไม่ได้เน้นที่ผลลัพธ์ แต่ต้องการให้นิสิตได้ตกตะกอนความคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ ว่าทำไมเครื่องบินถึงไม่ลอย หรืออะไรทำให้เครื่องบินลอยได้ด้วยตรรกะและเหตุผล นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้นิสิตได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมชมรมต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจ หรือกิจกรรมของมหาวิทยาลัยก็ตาม ซึ่งก็จะมีห้องสมุด และ ISE International Hub เป็นพื้นที่ที่คอยซัพพอร์ตทุกคนอยู่เสมอ




จบแล้วทำงานอะไร

นิสิตที่จบจาก ISE ไปนั้นเรียกได้ว่าสามารถทำงานได้หลากหลาย เนื่องจากได้รับการฝึกให้เรียนรู้แบบสหวิทยาการ ลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งมีตรรกะกระบวนการคิดที่เป็นระบบ จบไปแล้วจะไปทำงานด้านวิศวะฯ ก็ได้ ต่อยอดเป็นนักวิจัย นักพัฒนา หรือทำงานด้านกลยุทธ์ก็โดดเด่นไม่เหมือนใคร เรียกได้ว่าปรับตัวไปทำงานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม

อยากเข้าคณะนี้ต้องเตรียมตัวยังไง

ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ถ้าเราตั้งใจและลงมือทำ ศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบันของ ISE ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องหมั่นฝึกฝนและทำข้อสอบอยู่เสมอ ทำซ้ำ ๆ ทำเยอะ ๆ เวลาเราเจอโจทย์ที่คล้ายกับหรือลักษณะเดียวกันจะทำให้เราตีโจทย์แตกได้ไม่ยาก พยายามอย่างมีสมดุลความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล

Admission Requirements

  1. English Proficiency จาก IELTS, CU-TEP หรือ TOEFL (Weight 20%)
  2. Math จาก SAT Math หรือ CU-AAT Math (Weight 32.5%)
  3. Science จาก SAT II Physics & SAT II Chemistry หรือ CU-ATS Physics & CU-ATS Chemistry (Weight 40%)
  4. Specific Requirement จาก GPAX (Weight 7.5%)

หลังจากผ่านเกณฑ์การให้คะแนน 100% แล้วว่าที่นิสิตจึงจะได้ไปต่อในส่วนของ Interview ที่จะมีผลเป็นผ่านกับไม่ผ่านเท่านั้น

จะเห็นได้ชัดว่าตัวตัดสินสำคัญนั้นอยู่ที่คะแนนจาก SAT ทั้งสิ้น และที่สำคัญคณะนี้ใครได้คะแนนสูงกว่ามีสิทธิ์เลือกสาขาก่อน เอนท์ติดยังไม่ได้แปลว่าเราจะได้เรียนในสิ่งที่ฝัน ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือเก็บคะแนนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นแต้มต่อสำหรับประตูสู่สาขาที่อยากเรียน

มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการพิชิตที่นั่งและเป็น Top 50 ใน ISE Chula สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick­

 

PATH TO SUCCESS Workshop & family consultation

ทุกคำถามของคุณเกี่ยวกับการสอบเข้าอินเตอร์ฯ
จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ 
เรามีคำตอบให้ในเวิร์คช็อป 1.5 ชั่วโมงนี้