“สถาปัตย์อินเตอร์ฯ จุฬาฯ” คณะที่หลายๆ คนมักเรียกกันจนติดปากว่า INDA เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ ที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ โปรแกรมนี้คืออะไร การเรียนการสอนเป็นอย่างไร มีโอกาสได้เรียนแลกเปลี่ยนไหม แตกต่างจากภาคไทยอย่างไร และโอกาสการทำงานในอนาคตเป็นอย่างไร รวมไปถึง Admission Requirement 2023 จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
เพื่อปลดล็อกทุกคำถามและคลายความสงสัย พร้อมเจาะลึกข้อมูลของทางคณะ งาน INDA Open House จึงถูกจัดขึ้นที่ Warwick Institute ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2565 ซึ่งงานนี้เราได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. Scott Drake อาจารย์ประจำชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) มาสร้างความเข้าใจเจาะลึกในทุกประเด็นร่วมด้วยศิษย์เก่ามากคุณภาพอย่างคุณปลื้ม พงษ์พิศาล ดีกรีเจ้าของรางวัล Design Award: Grand Prix 2021 Winner – Fondation Jacque Rougerie International Architectural Competition, Institute de France, Paris, France และตอนนี้ดำรงตำแหน่ง Architectural Designer ที่ Formwerkz Architects, Singapore พร้อมทั้งรุ่นพี่ศิษย์เก่าวอร์ริคที่เป็นนิสิตปัจจุบันอย่าง โมนา – ชนัญญา อรรถวุฒิศิลป์ (นิสิตชั้นปีที่ 4) แพร – พิชามญชุ์ สุรวัฒนาวรรณ (นิสิตชั้นปีที่ 2) และจ้า – ณดา เรืองจินดา (นิสิตชั้นปีที่ 1)

INDA คืออะไร
ต้องทำความเข้าใจร่วมกันก่อนว่า INDA Chula หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) นั้น ไม่ได้สอนให้นิสิตสร้างตึกสร้างอาคารแต่เพียงอย่างเดียว แต่ INDA Chula สอนศาสตร์แห่งการออกแบบ โดยมุ่งเน้นการดึงศักยภาพของนิสิตแต่ละคนออกมาและส่งเสริมให้สามารถนำความถนัด ความรู้ และความสามารถที่มีไปประยุกต์ใช้ให้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ผ่านการออกแบบได้อย่างสร้างสรรค์ นั่นหมายความว่านิสิตต้องมีความคิดหลากหลายมิติ สร้างงานได้ และสื่อสารเป็น ผ่านกระบวนการคิดหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Critical Thinking, Design Thinking หรือ Creative Thinking เพื่อตอบสนองความต้องการแห่งโลกในยุคปัจจุบัน

การเรียนการสอนเป็นยังไง
การเรียนการสอนตลอดหลักสูตรใช้ระยะเวลาทั้งหมด 4 ปี โดยที่ปีแรกจะเป็นการปูพื้นฐานการออกแบบเบื้องต้น เรียนรู้สัดส่วนของร่างกายมนุษย์รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัวก่อน ปีที่ 2 จึงเริ่มเจาะลึกลงไปในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์การออกแบบมากยิ่งขึ้น เมื่อขึ้นปีที่ 3 นิสิตจะเริ่มได้เรียนรู้ทำความเข้าใจองค์ประกอบของเมือง ชุมชม และสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งสร้างสรรค์การออกแบบให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านั้นกับผู้คน และในปีสุดท้ายจึงสร้างโปรเจคใหญ่ บริหารจัดการทุกอย่างด้วยตนเอง
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 4 ปี ทุกคนจะได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งกรณีศึกษาที่หลากหลาย เพื่อมุ่งเน้นให้นิสิตมีความกล้าคิด กล้าแสดงออก และมีอิสระในการเรียนรู้ และแน่นอนว่าในระหว่างปี 2 – 4 นิสิตทุกคนมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมและศิลปะในหลากหลายประเทศด้วย

มีโอกาสได้ไปเรียนแลกเปลี่ยนไหม
นิสิตทุกคนมีโอกาสได้ไปเรียนแลกเปลี่ยนในมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพด้านการออกแบบหลากหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น Parsons School of Design ประเทศสหรัฐอเมริกา, University of Canberra ประเทศออสเตรเลีย และ Meiji University ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งนิสิตสามารถเข้าไปขอคำปรึกษาและดูรายชื่อมหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์ทั้งหมดได้กับทางคณะ หรือถ้าหากอยากไปแลกเปลี่ยนที่มหาวิทลัยอื่น ๆ ที่เป็น MOU ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็สามารถทำได้
แตกต่างกับคณะสถาปัตยกรรมภาคไทยมากน้อยแค่ไหน
INDA Chula สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) นั้นเรียนเพียงแค่ 4 ปี น้อยกว่าสถาปัตย์ภาคไทย 1 ปี ไม่ได้เรียนเนื้อหาแบบภาคไทยแต่จะเน้นการเรียนรู้ที่เปิดกว้างศาสตร์แห่งการออกแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของโลกยุคปัจจุบัน เรียนจบได้รับวุฒิ Bachelor of Science in Architectural Design นั่นหมายความว่าหากใครต้องการต่อยอดเป็นสถาปนิกหลังเรียนจบนิสิตต้องทำงานในสายสถาปัตยกรรมศาสตร์ 2 ปีก่อน หรือเรียนต่อปริญญาโทสถาปัตย์จึงจะสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพได้
โอกาสการทำงานในอนาคตเป็นอย่างไร
เมื่อเรียนจบนิสิตมีโอกาสในการทำงานในหลายสาขาอาชีพ โดยอาศัยทักษะพื้นฐานจากศิลปะการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการผังเมือง ออกแบบภายใน ออกแบบแฟชั่น หรือแม้แต่การสร้าง Storytelling ด้วยศิลปะผ่านสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งต่อยอดไปเป็นสถาปนิกก็ได้


Admission Requirement 2023
TCAS 2023 มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนคะแนนใหม่ ดังนั้นถ้าอยากเข้า INDA Chula ต้องเข้าใจ Admission Requirements ซึ่ง เพื่อจะได้โฟกัสถูกจุด โดยคะแนนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
- Standardized Test (SAT Math) 15%,
- English Proficiency 20%
- Specific Requirement 65%
จะเห็นได้ว่าสัดส่วนคะแนนมากกว่าครึ่งเทไปอยู่ที่ Specific Requirements ซึ่งประกอบด้วย Portfolio 10%
- Writing Exam 10%
- CU-TAD 20%
- Interview 25%
นั่นแปลว่าปั่นคะแนน Standardized Test และ English Proficiency ให้เต็มอย่างเดียวยังคงไม่พอ ต้องทุ่มเทและโฟกัสในส่วนของ Specific Requirement ด้วย เพราะเป็นตัวตัดสินการเป็นนิสิต INDA Chula เลยทีเดียว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. Scott Drake นั้นได้กล่าวย้ำชัดเจนว่า รูปแบบการนำเสนอ Portfolio นั้นต้องแปลกใหม่ สะท้อนความเป็นตัวเอง และแทรกด้วยผลงานที่หลากมิติ เน้นความหลากหลาย ซึ่งเป็นได้ทั้งรูปวาด ภาพถ่าย ภาพกราฟิก นิทรรศการ ผลงาน หรือสิ่งบ่งบอกถึงสิ่งที่เราสนใจและหลงใหลก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเราต้องทำมันด้วยตัวเองแล้วรังสรรค์มันออกมาจากไอเดียของเรา ที่สำคัญสิ่งเหล่านี้จะถูกนำไปซักถามต่อในช่วยสอบสัมภาษณ์ซึ่งมีคะแนนสูงถึง 25% ด้วย
มีคำถามข้อสงสัยหรืออยากทราบกลยุทธ์ในการพิชิตคะแนนในส่วนของ Specific Requirement สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick หรือคลิก https://lin.ee/1s22ckD
