เพื่อปลดล็อกทุกคำถามและคลายความสงสัย พร้อมเจาะลึกข้อมูลของทางคณะ งาน INDA Open House จึงถูกจัดขึ้นที่
Warwick Institute ซึ่งงานนี้เราได้รับเกียรติจาก ดร. สรชัย กรเกษม รองผู้อำนวยการสาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม
และ Prof. Christo Meyer อาจารย์ประจำชั้นปีที่ 4 จาก INDA มาร่วมสร้างความเข้าใจในทุกประเด็นอย่างกระจ่าง

อันดับแรก ดร. สรชัย กรณ์เกษม รองผู้อำนวยการสาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรมได้กล่าวนำ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันก่อนว่า INDA นั้น ไม่ได้สอนให้นิสิตสร้างตึกสร้างอาคาร แต่ INDA สอนศาสตร์แห่งการออกแบบ โดยมุ่งเน้นการดึงศักยภาพของนิสิตแต่ละคนออกมาและส่งเสริมให้สามารถนำความรู้ความสามารถที่มีไปปรับใช้ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ นั่นหมายความว่านิสิตต้องมีความคิดที่หลากหลายสร้างงานได้ และสื่อสารเป็นผ่านกระบวนการคิดหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Critical Thinking, Design Thinking หรือ Creative Thinking เพื่อตอบสนองความต้องการแห่งโลกในยุคปัจจุบัน
การเรียนการสอนตลอดหลักสูตรใช้ระยะเวลาทั้งหมด 4 ปี โดยที่ปีแรกจะเป็นการปูพื้นฐานการออกแบบเบื้องต้น เรียนรู้สัดส่วนของร่างกายมนุษย์รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัวก่อน ปีที่ 2 จึงเริ่มเจาะลึกลงไปในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์การออกแบบในปีต่อมา
ปีที่ 3 จะเริ่มทำความเข้าใจองค์ประกอบของเมือง ชุมชม และสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งสร้างสรรค์การออกแบบให้เกิดปฏิสัมพันธ์
กับสิ่งเหล่านั้นรวมทั้งผู้คน และในปีสุดท้ายจึงสร้างโปรเจคบริหารจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 4 ปี ทุกคนจะได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งกรณีศึกษาที่หลากหลาย เพื่อมุ่งเน้นให้นิสิต
มีความกล้าคิด กล้าแสดงออก และมีอิสระในการเรียนรู้
ถ้าอยากเข้า INDA ต้องเข้าใจ Admission Requirement ก่อน เพื่อจะได้โฟกัสถูกจุด โดยคะแนนจะถูกแบ่งออกเป็น
3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ 1) Standardized Test (SAT Math) 15% 2) English Proficiency 20% 3) Specific Requirement 65%
จะเห็นได้ว่าสัดส่วนคะแนนมากกว่าครึ่งเทไปอยู่ที่ Specific Requirement ซึ่งประกอบด้วย
1) Portfolio 10% 2) Writing Exam 10% 3) CU-TAD 20% 4) Interview อีก 25%

นั่นแปลว่าปั่นคะแนน SAT ให้เต็มอย่างเดียวยังคงไม่พอ ต้องทุ่มเทและโฟกัสในส่วนของ Specific Requirement ด้วย
เพราะเป็นตัวตัดสินการเป็นนิสิต INDA เลยทีเดียว

ในส่วนของ Portfolio นั้น Prof. Christo Meyer อาจารย์ประจำชั้นปีที่4 ได้กล่าวย้ำชัดเจนว่า รูปแบบการนำเสนอนั้น
ต้องแปลกใหม่ สะท้อนความเป็นตัวเอง และแทรกด้วยผลงานที่หลากหลาย ซึ่งเป็นได้ทั้งรูปวาด ภาพถ่าย ภาพกราฟิก
หรือบ่งบอกถึงสิ่งที่เราสนใจและหลงใหลก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเราต้องทำมันด้วยตัวเองแล้วรังสรรค์มันออกมาจาก
ไอเดียของเรา ที่สำคัญสิ่งเหล่านี้จะถูกนำไปซักถามต่อในช่วยสอบสัมภาษณ์ซึ่งมีคะแนนสูงถึง 25% ด้วย
มีคำถามข้อสงสัยหรืออยากทราบกลยุทธ์ในการพิชิตคะแนนในส่วนของ Specific Requirement
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick