fbpx
final

Decode Your Business DNA Forum 2021
เช็คความใช่ในสายบริหารธุรกิจ

ถ้าพูดถึงการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ศาสตร์ได้รับความนิยมในยุคศตวรรษที่ 21 ก็คงหนีไม่พ้นด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยี แต่รู้หรือไม่ว่าหากเป็นหลักสูตรนานาชาติ กลุ่มคณะบริหารธุรกิจนั้นกลับได้รับความนิยมมากที่สุด

โดยเฉพาะโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ และเพื่อตอบรับเทรน และไขข้อสงสัยว่าอะไรทำให้คณะสายบริหารธุรกิจได้รับความสนใจจากเด็กเจนเนอร์เรชั่นใหม่อย่างต่อเนื่อง

Warwick Institue จึงค้นหาศิษย์เก่าจากคณะต่างๆ และได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับเพชรหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น

          (1) คุณเพลน ปวิตรา กอบกุลสุวรรณ – เจ้าของธุรกิจ K Maison Boutique Hotel & Kay’s (ศิษย์เก่า BBA Chula)
          (2) คุณจีจี้ เกวลิน สุรินทร์ไพบูลย์ – Monetization Program Manager and Profit & Loss Initiative Team Lead, Shopee
               (ศิษย์เก่า BBA Thammasat)

          (3) คุณนันท์ ณัฐนันท์ เอมอมรจิต – Head of Cities, Foodpanda (ศิษย์เก่า EBA Chula)
          (4) คุณแพททริก ปูเลีย – EVP, Head of Financial Markets Division, SCB (ศิษย์เก่า BE Thammasat)
          (5) คุณหน่อย เสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ – Head of Marketing, Mother & Baby and Homecare บริษัท โอสถสภา จำกัด   
               (มหาชน) (ศิษย์เก่า Comm Arts Chula )

ซึ่งแต่ละท่านจะมีเคล็ดลับในการใช้ชีวิตอย่างไร DNA ของแต่ละคณะมีส่วนช่วยทำให้แต่ละท่านมีความโดดเด่นและแตกต่างอย่างไรบ้าง

คุณเพลน ปวิตรา กอบกุลสุวรรณ –  (ศิษย์เก่า BBA Chula)

          เติบโตมาในครอบครัวที่ทำธุรกิจค้าขาย ส่งผลให้หลังจากเรียนจบ BBA Chula ด้วยดีกรีเกียรตินิยมอันดับ 1 เธออยากสร้างธุรกิจของตัวเอง อยากนำวิชาความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
จนกลายมาเป็น K Maison Boutique Hotel โดยมีหน้าที่หลักในการดูแลส่วนของการบัญชีและการตลาด แต่การทำธุรกิจก็ไม่ใช่ความสุขเดียวที่มี เพราะนอกจากนี้คุณเพลนก็ชื่นชอบในการทำอาหารด้วย ดังนั้นการนำทั้งสองอย่างมาประกอบกันก็น่าจะมีความเป็นไปได้ เธอเชื่อว่า “ความชอบของเราสร้างการเรียนรู้ใหม่ได้เสมอ” ทำให้โรงแรมของเธอมีอาหารเช้าที่ไม่เหมือนใครเสิร์ฟให้กับคนที่เข้ามาพักได้ลิ้มลอง อีกทั้งยังมีคาเฟ่เล็กๆ ที่มีโทนสีสดใสตกแต่งด้วยดอกไม้หลากสีเปิดให้บริการอีกด้วย

          การจะดูแลธุรกิจนั้นไม่ง่าย เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเราต้องรู้จักพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ต้องวางแผนและทำการตลาดให้ดี เพราะในอุตสาหกรรมการโรงแรมนั้นไม่ได้มีธุรกิจเราแค่ธุรกิจเดียว และเมื่อเราเป็นเจ้าของธุรกิจเราต้องไม่ลืมว่ามีอีกหลายชีวิตคอยช่วยเหลือเราตลอดนั่นคือพนักงาน ดังนั้นในวันที่เกิดปัญหา เราพักได้แต่เราหยุดไม่ได้ เพราะทุกคนเหนื่อยเพื่อเรา ความละเอียดอ่อนเหล่านี้เองที่ทำให้ K Maison Boutique Hotel ยังคงดำเนินกิจการอยู่แม้ในภาวะที่ยากลำบากอย่างนี้

คุณจีจี้ เกวลิน สุรินทร์ไพบูลย์ – (ศิษย์เก่า BBA Thammasat)

          ความจริงแล้วตอนยื่นคะแนน Admission คุณจีจี้สามารถยื่นคะแนนเข้าเรียนได้ทั้ง BBA Chula และ BBA Thammasat แต่สุดท้ายแล้วเธอก็เลือกที่จะเข้าไปศึกษาในรั้วแม่โดมเพราะ DNA ที่เหมาะกับผู้หญิงสายลุยและรายวิชาในหลักสูตรที่ตรงใจ ซึ่งคุณจีจี้บอกว่าวิธีการเลือกคณะนั้นไม่ยากเพียงแค่

          (1) ให้เราสังเกตว่าตัวเองว่าวิธีการเรียนรู้แบบไหนที่จะช่วยให้เราเรียนรู้ได้ดีที่สุด บางคนอาจชอบเรียนแบบเลคเชอร์ แต่อีกคนอาจชอบเรียนแบบเป็นกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม
          (2) ดูว่าจุดแข็งและจุดอ่อนของเราคืออะไร
          (3) เอารายละเอียดหลักสูตรมาดูว่าในแต่ละเทอมเรียนวิชาอะไรบ้าง เราชอบหรือไม่ชอบอะไร หรือมีอะไรที่แปลกใหม่น่าสนใจสำหรับเราบ้าง และคณะไหนตอบโจทย์ความต้องการของเรามากที่สุด
          (4) ใช้เวลาว่างที่มีอยู่ในเกิดประโยชน์สูงสุด ลองค้นหาตัวเอง

          ซึ่งถ้าได้ลองทำทั้งหมดนี้แล้วเราจะเข้าใจตัวเองและเลือกเรียนในสิ่งที่ใช่ได้ง่ายขึ้น และเราจะเรียนรู้และทำมันออกมาได้ดี นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรมีนั้นก็คือ “จงมี Yes, I can Mindset จงเชื่อมั่นในตัวเองว่าไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้”

คุณนันท์ ณัฐนันท์ เอมอมรจิต –  (ศิษย์เก่า EBA Chula)

          ตอนที่เริ่มคิดว่าอนาคตของตนเองจะเป็นอย่างไร คำถามแรกที่เกิดขึ้นมาในใจของคุณนันท์นั่นก็คืออะไรคือสิ่งที่เราต้องการ ซึ่งคำตอบนั้นแสนจะธรรมดาเรียบง่ายแต่มีพลัง “ความต้องการสุดท้ายของชีวิตคือการได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข” นั่นจึงเป็นเข็มทิศในการดำเนินชีวิตของคุณนันท์ ในช่วงที่เรียนอยู่ระดับมัธยมปลายเธอได้มีโอกาศเลือกเรียนวิชาหลากหลายวิชาอย่างเสรี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “เศรษฐศาสตร์” พอได้ทำความเข้าใจ และเรียนรู้พื้นฐานต่างๆ ก็ค้นพบว่าเศรษฐศาสตร์คือสิ่งที่ชอบและสิ่งที่ใช่ เวลาที่ต้องเรียน อ่านหนังสือ หรือทบทวนเนื้อหามันไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกว่ายากลำบากเลยแม้แต่น้อย “ตัวเองชอบอะไร อยากให้เลือกสิ่งนั้น” คือสิ่งที่จะทำให้เรามีความสุขและสนุกในการทำงานทุกๆ วัน

วิธีที่จะช่วยให้เราได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ
          (1) การหาแรงบันดาลใจที่จะช่วยให้เรามองเส้นชัยในระยะสั้นของตัวเองได้ง่ายขึ้น 
          (2) โฟกัสกับปัจจุบันและทำมันให้ดีที่สุด เพราะอดีตนั้นแก้ไขไม่ได้ แต่อนาคตกำหนดได้ด้วยตัวเรา
          (3) การไม่ยอมแพ้กับอะไรง่ายๆ พยายามให้ถึงที่สุด เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าจุดที่เรายอมแพ้อาจจะห่างจากความสำเร็จ
                แค่เพียงก้าวเดียวก็ได้ 
          (4) มองหามิตรภาพมากกว่าค้นหาคู่แข่งหรือศัตรู เพราะสุดท้ายแล้วเราไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่คนเดียวได้และไม่มีใครอยากแข่งขัน
                ตลอดเวลา
          (5) ให้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าฉันจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

          และแน่นอนว่ารูปแบบของความสุขที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นของคุณนันท์ทั้งหมด หากใครมีเป้าหมายเดียวกับเธอก็อยากให้ลองนำวิธีต่างๆ ไปปรับใช้ในรูปแบบของตัวเอง

คุณแพททริก ปูเลีย –  (ศิษย์เก่า BE Thammasat)

          ในฐานะที่เคยเป็นทั้งผู้ถูกคัดเลือกและผู้คัดเลือกในตอนสมัครงาน คุณแพททริกจึงอยากนำเคล็ดลับดีๆ มาแชร์ให้กับทุกคน ถ้าถามว่าชื่อของมหาวิทยาลัยนั้นสำคัญไหมในการสมัครงาน ต้องมีเกียรตินิยมหรือเปล่า ถ้าเรียนไม่เก่งเป็นปัญหาหรือไม่ ซึ่งค้นพบว่าแทบทุกบริษัทต่างก็ดูว่าคุณจบมาจากที่ไหน เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่กันทั้งนั้น เพราะมันเป็นเครื่องการันตีคัดกรองบุคคลกว่าหลายพันคนได้ง่ายที่สุด ว่าบุคคลนั้นมีความพยายามและตั้งใจมากน้อยแค่ไหน พร้อมที่จะทำงานและรับมือกับสถาณการณ์ต่างๆ แล้วใช่ไหม แต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้ในการตัดสินใจ เพราะในระหว่างที่คุณกำลังถูกสัมภาษณ์เขาก็จะสังเกตบุคลิกภาพ ไหวพริบ และมุมมองความคิดในการตอบคำถามควบคู่ไปด้วย


          คุณแพททริกเล่าว่าตอนที่เขาถูกสัมภาษณ์เขาไม่ได้รู้ลึกในคำตอบ แต่เขาก็ขอตอบในความเข้าใจและมุมมองของตัวเอง ที่แม้ว่าตอนนั้นจะเป็นคำตอบที่ผิดแต่เขากลับถูกรับเลือกให้เข้าทำงาน ทำให้เขามั่นใจว่าการจะเลือกใครสักคนเข้ามาในองค์กรบริษัทไม่ได้มองแค่องค์ประกอบพื้นฐาน แต่แน่นอนว่าหลักจากได้เข้าไปทำงานแล้ว ความท้าทายด่านต่อไปก็คือการพิสูจน์ตัวเองด้วยผลงาน ซึ่งการที่จะเติบโตในสายงานและประสบความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นได้ไม่ยาก “การมี Growth Mindset จะทำให้เรามีอะไรมากกว่าคนอื่น เพราะเราจะได้เรียนรู้และพัฒนาตลอดเวลา” ส่งผลให้คุณแพททริกนั้นกลายเป็นนักการธนาคารที่มีประสบการณ์หลากหลายและโดดเด่นเป็นที่น่าจับตามอง

คุณหน่อย เสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ –  (ศิษย์เก่า Comm Arts Chula)

          คุณหน่อยเป็นคนหนึ่งที่รู้ตัวตั้งแต่เด็กว่าตนเองนั้นชื่นชอบโฆษณา ชอบดูโฆษณาของแบรนด์ต่าง ๆ ทั้งจากโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ และเธอมักตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านั้นเสมอว่าคนสร้างเขาคิดยังไง ทำไมมันถึงน่าสนใจ ทำให้เดาได้ไม่ยากเลยว่าทำไมนิเทศ จุฬาฯ ถึงเป็นคำตอบที่อยู่ในใจเธอเสมอ

          ถึงแม้ว่าเธอจะค้นพบในสิ่งที่ตัวเองชอบแล้ว แต่เธอก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะการได้เอาชนะตัวเองต่อไปเรื่อยๆ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเองอีกวิธีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสอบคัดเลือกเพื่อไปเรียนแลกเปลี่ยนโครงการ AFS ที่รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริการ หรือแม้แต่การพยายามสอบ GMAT หลายต่อหลายครั้ง เพื่อที่จะเข้าศึกษาต่อ Kellogg School of Management, Northwestern University แน่นอนว่าตอนเรียนอยู่ที่จุฬาฯ เธอก็ไม่เคยยอมแพ้ เรียกได้ว่าคณะมีกิจกรรมอะไรต้องได้เห็นเธออยู่ในนั้นอย่างแน่นอน เพราะเธอเชื่อเสมอว่า “เกรดนั้นสำคัญ แต่ประสบการณ์สำคัญกว่า” เราได้รับประสบการณ์การใช้ชีวิตจากกิจกรรมเยอะมาก รวมถึงทักษะต่างๆ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และที่สำคัญคือมิตรภาพที่จะเติบโตและพร้อมช่วยเหลือสนับสนุนกันและกันเสมอ

          จะเห็นได้ว่าศิษย์เก่าของแต่ละคณะนั้นมี DNA ที่แตกต่างกันออกไป แต่ละท่านมีสไตล์เป็นของตัวเอง แต่ในความแตกต่างนั้นก็มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนกันเสมอนั่นคือพวกเขาได้เลือกในสิ่งที่ใช่และได้ทำในสิ่งที่รักจนประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้

          มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อพิชิตที่นั่งคณะสายธุรกิจ ในโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick

PATH TO SUCCESS Workshop & family consultation

ทุกคำถามของคุณเกี่ยวกับการสอบเข้าอินเตอร์ฯ
จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ 
เรามีคำตอบให้ในเวิร์คช็อป 1.5 ชั่วโมงนี้