fbpx
1

เส้นทางสู่วงการสื่อสาร การโฆษณา และการตลาด Comm Arts Chula นิเทศ อินเตอร์ จุฬาฯ

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันการสื่อสารมีวิวัฒนาการไปสู่ดิจิตอลแพลตฟอร์ม และที่สำคัญเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนแทบทุกวินาที ซึ่งส่งผลให้คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจในวงการสื่อสารและบุคลากรเป็นที่ต้องการของตลาด

เมื่อพูดถึงการสื่อสารนั่นสามารถแปลความได้หลากหลายเพราะมันคือกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลความรู้ ข่าวสาร รวมถึงการแชร์ประสบการณ์และความรู้สึกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมักสอดแทรกอยู่ในหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งคอนเทนต์ออนไลน์ โปรโมชั่นของแบรนด์ต่าง ๆ หรือแม้แต่แบบสอบถามก็นับเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารด้วยเช่นกัน ทุกองค์ประกอบที่กล่าวมาทำให้ Warwick Institute ร่วมกับ Comm Arts Chula จัดงาน Comm Arts Open House ขึ้นวันที่ 11 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส งานนี้ได้รับเกียรติจากทางคณะอันได้แก่
1) ผศ.ดร.กฤษณะ พันธุ์เพ็ง – Chairperson, B.A. Communication Management (International Program)
2) Dr. ShawHong SER – Vice Chairman, B.A. Communication Management (International Program) & M.A. Strategic Communication Management Program
3) Dr. Worapron Worawongs Chanthapan, the full-time faculty member

อีกหนึ่งช่วงพิเศษ งานนี้ได้รวมรวบนิสิตรุ่นพี่นิเทศ อินเตอร์ จุฬาฯ ที่เป็นศิษย์เก่าวอร์ริคมาร่วมแชร์ประสบการณ์ตรงให้กับน้อง ๆ และ ผู้ปกครอง
1) พี่บีม – ณัฏฐา ฤทธิ์วีระเดช ศิษย์เก่า Comm Arts Chula
2) พี่กันตา – กันตา กันฉาย นิสิต Comm Arts Chula ชั้นปีที่ 3
3) พี่มาย – ณัฐรินีย์ ธเนศไพศาล นิสิต Comm Arts Chula ชั้นปีที่ 2
4) พี่ใบหม่อน – ณพอาถา วิบูลยานนท์ นิสิต Comm Arts Chula ชั้นปีที่ 2
5) พี่ปาล์ม – ปองภพ กิจอำนาจสุข นิสิต Comm Arts Chula ชั้นปีที่ 1
6) พี่แทน – แทนคุณ ดาราศรีศักดิ์ นิสิต Comm Arts Chula ชั้นปีที่ 1

นิเทศ อินเตอร์ จุฬาฯ เรียนเกี่ยวกับอะไร

นิเทศ อินเตอร์ จุฬาฯ นั้นเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการสื่อแบบครอบคลุม และสร้างสรรค์การสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อธุรกิจเป็นหลัก ทำให้นิสิตที่เรียนโปรแกรมนี้ต้องเรียนเกี่ยวกับ Business & Management เป็นสำคัญ และมีโอกาสได้เรียนวิชาเหล่านี้ที่ BBA Chula

นอกจากนั้นโปรแกรมยังมุ่งเน้นฝึกให้นิสิตมีความสามารถในการปรับตัว พร้อมทั้งบ่มเพาะทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างเช่น ความเป็นผู้นำ การรู้จักเข้าสังคม ความสามารถในการปรับตัว มีความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหาผ่านโปรเจคในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งเป็นที่รู้กันเป็นอย่างดีว่า นิเทศ จุฬาฯ ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ให้ความสำคัญกับโปรเจคเหล่านี้มากว่า 50 ปี และถือว่าเป็นที่สุดของกิจกรรมนิสิตในประเทศไทย 

ตัวชูโรงอีกอย่างหนึ่งคือการส่งเสริมให้นิสิตได้มีโอกาสในการฝึกงานและไปเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศด้วยเพื่อที่จะนำความรู้ความสามารถที่ได้มาต่อยอดและประยุกต์ใช้กับงานที่จะทำต่อไปในอนาคต สร้างโอกาสในการเติบโตในองค์กรระดับนานาชาติได้ไม่ยาก

นิเทศ จุฬาฯ ภาคไทยกับภาคอินเตอร์ฯ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ต้องบอกเลยว่านิเทศ จุฬาฯ ภาคอินเตอร์ฯ นั้นเรียนไม่เหมือนกับภาคไทย เพราะภาคอินเตอร์นั้นมีเพียงสาขาวิชาเดียวคือ Communication Management คือเน้นทางด้านการจัดการการสื่อสาร มองภาพรวมของการสื่อสารแขนงต่าง ๆ เป็นหลักตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ภาคไทยนั้นมีถึง 7 สาขาโดยเรียนแบบเจาะลึกในสาขาที่เลือกโดยเฉพาะ ดังนั้นหากใครต้องการโฟกัสในภาควิชาใดภาควิชาหนึ่ง ก็จำเป็นต้องศึกษาเมเจอร์เหล่านั้นให้ดีและค้นหาตัวเองให้พบว่าควรเลือกเรียนภาคอินเตอร์หรือภาคไทยกันแน่

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นยังไง

แม้ว่าหลักสูตรการเรียนการสอนจะแตกต่างจากภาคไทย แต่ความเป็น “เด็กนิเทศ” ก็ทำให้นิสิตทุกคนจากหลากสาขาวิชา รวมทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรอินเตอร์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ได้ทำกิจกรรมและเรียนรู้แลกเปลี่ยนความสนใจ และแชร์ประสบการณ์ดี ๆ รวมกันได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็น ละครนิเทศ จุฬาฯ, กีฬามหาวิทยาลัย, ฟุตบอลประเพณีจุฬา ธรรมศาสตร์ หรือแม้แต่การไปฝึกงานในสายอาชีพต่าง ๆ รุ่นพี่รุ่นน้องในคณะก็มีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเสมอ

โอกาสการทำงานในอนาคตเป็นอย่างไร

องค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่าง ๆ ในรั้วมหาวิทยาลัยรวมถึงความสามารถของแต่ละบุคคลจะทำให้บัณฑิตนิเทศ อินเตอร์ จุฬาฯ นั้นเป็นที่ยอมรับ สามารถทำงานได้ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของวงการสื่อสารมวลชน การโฆษณา และการตลาด และมีโอกาสเติบโตได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เพราะต้องไม่ลืมว่าทุกธุรกิจต้องมีการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ส่งผลให้บัณฑิตสามารถนำองค์ความรู้ความสามารถไปต่อยอดได้ในหลากอาชีพ โดยใช้การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เป็นหัวใจหลัก

ถ้าอยากเป็นนิสิตนิเทศ อินเตอร์ จุฬาฯ ตั้งแต่รอบแรกต้องเตรียมตัวอยังไง

จากคะแนน 100 คะแนนเต็ม แบ่งเป็น 

1) Standardized Test (SAT Math, ACT Math, CU-AAT Math) 20%, 
2) English Proficiency (SAT Verbal, IELTS, CU-TEP, CU-AAT Verbal) 40% 
3) Specific Requirement 40% ซึ่งประกอบด้วย
          3.1)  E-Portfolio 20% 
          3.2) Interview 20%

เห็นได้ชัดเลยว่า Specific Requirement นั้นมีสัดส่วนเยอะมาก อันได้แก่ E-Portfolio 20% และ Interview 20% เรียกได้ว่าเกือบถึงครึ่งเลยทีเดียว แน่นอนว่านักเรียนส่วนใหญ่ที่อยากเข้าเรียนโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ นั้นมีคะแนน SAT & IELTS ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว นั่นหมายความว่าทุกคนต้องแข่งขันผ่านคะแนนจากส่วนของ Specific Requirement

เตรียม E-Portfolio และ Interview อย่างไรให้เอนท์ติด 

พี่จินนี่ ครูที่ดูแลคอร์ส Comm Arts ของ Warwick Institute ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ในการเตรียม E-Portfolio และการเตรียมตัวสัมภาษณ์ เพื่อที่จะคว้าคะแนน 40% นี้ให้ได้เกือบเต็ม โดยยกตัวอย่างของน้อง ๆ Warwicksters ที่เพิ่งเอนท์ติดไปในปีที่ผ่านมา จุดสำคัญที่สุดคือต้องรู้จักการดึงความเป็นตัวตนของนักเรียนออกมาและสามารถแสดงศักยภาพว่านักเรียนมีทักษาะทางด้าน Communication, Collaboration, Creativity และมี Passion ในการเข้ามาเรียนที่ Comm Arts อยากให้เตรียมความพร้อมแต่เนิ่น ๆ ต้องมีการกลั่นกรองทางความคิด ได้รับการวิจารณ์จากพี่จินนี่ และมีการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เพอร์เฟค ไม่ควรรีบทำแบบขอไปที เพราะคะแนนสูงมากห้ามประมาทเด็ดขาด

น้อง ๆ คนไหนอยากเป็นเด็กนิเทศ อินเตอร์ จุฬาฯ มีความฝันอยากทำงานด้านสื่อสาร การโฆษณา และการตลาด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick หรือคลิก https://lin.ee/1s22ckD

PATH TO SUCCESS Workshop & family consultation

ทุกคำถามของคุณเกี่ยวกับการสอบเข้าอินเตอร์ฯ
จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ 
เรามีคำตอบให้ในเวิร์คช็อป 1.5 ชั่วโมงนี้