การค้นหาคำตอบให้ตัวเองว่าชอบทางไหน อะไรคือสิ่งที่ใช่ จะช่วยให้มุ่งเป้าไปยังคณะที่ชอบได้อย่างชัดเจน และยังช่วยประหยัดเวลาที่อาจจะเสียไปได้ หรือโอกาสที่จะพลาดไปได้อีกด้วย แต่เราจะแน่ใจได้ยังไงล่ะว่าเราจะชอบทางไหน แล้วมันใช่หรือเปล่า บางทีการได้เรียนรู้จากประสบการณ์แน่น ๆ ของผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขานั่นเองที่จะช่วยหาคำตอบให้เราได้

เพราะเรารู้ว่าการค้นหาความฝันและเส้นทางที่ใช่ให้เจอเป็นเรื่องสำคัญสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับการเลือกคณะโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ในฝันมากแค่ไหน Warwick Institute จึงจัดงานสัมมนาขึ้นเป็นประจำ เพื่อเป็นการแนะแนวทางไปสู่อนาคต โดยคัดสรรสุดยอดแห่งผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเหล่านั้นมาให้ทั้งความรู้ ข้อมูล และแชร์ประสบการณ์ทั้งในระหว่างเรียนและการทำงาน ไปจนถึงการก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จ

ซึ่งหนึ่งในงานสัมมนาที่ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม มีผู้มาร่วมงานเต็มแน่น และยังได้รับการแชร์และกล่าวถึงกันในวงกว้างก็คืองาน Decode Your Business DNA Forum ซึ่งจัดขึ้น ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในงานนี้ถือว่าเป็นการรวมดาวเหล่าธุรกิจ การเงิน และการธนาคาร จากหลากหลายสาขาวิชาชีพ ที่เป็นศิษย์เก่าจาก 5 คณะดังทั้ง
- คุณคณิน พีระวัฒนชาติ จาก EBA Chula, Head of Strategic Projects, Grab*
- คุณสนธยา ตั้งสันติกุล จาก Comm Arts Chula, Chief Marketing Officer, McDonald’s Thailand*
- คุณชาริณี แชนนอน กัลยาณมิตร จาก BBA Thammasat, Founder, ORAMI Thailand และ Venture Partner, Gobi Partners*
- คุณวิน พรหมแพทย์ จาก BE Thammasat, CFA Chief Investment Officer, CIMB-Principal Asset*
- คุณปราโมทย์ เดชะบุญศิริพานิช จาก BBA Chula, Managing Director, PAÑPURI*
(*ตำแหน่ง ณ ขณะนั้น)

งานนั้นทั้งน้อง ๆ และผู้ปกครองต่างเก็บเกี่ยวความรู้และแรงบันดาลใจกันไปเต็ม ๆ ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำจากพี่แชนนอน ชาริณี ให้ค้นหาจุดแข็งของตัวเอง Strength Finders ให้เจอเพื่อ support มัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทิ้งสิ่งที่คิดว่าเป็นจุดอ่อนของตัวเองไปเลย บวกกับให้สร้าง Vision Board ตามความสนใจส่วนตัวขึ้นมา จะได้เห็นภาพสิ่งที่เราชอบและถนัดได้ชัดมากขึ้น
เช่นกันกับพี่คณิน ที่แนะนำให้น้อง ๆ ค้นหาสิ่งที่ใช่ด้วยวิธีการลองให้มากที่สุด เหมือนการที่จะหาจานโปรดของตัวเองที่เราจะไม่มีวันรู้ถ้าไม่ลองมามากพอ
เช่นกันกับพี่วินที่ลิสต์รายชื่อคำถามยอดฮิตที่คิดว่าน้อง ๆ และผู้ปกครองส่วนใหญ่น่าจะอยากได้คำตอบมาตอบให้ฟังกันให้ชัด ๆ ในงาน ทำให้ได้คลายสงสัยกันไปว่าเรียนเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ฯนั้นยากจริงอย่างที่เค้าว่ากัน แต่เมื่อเรียนไปแล้วก็เป็นประโยชน์สำหรับคนที่สนใจในเรื่อง Finance และ Business คือได้เอาไปใช้จริงแน่นอน และสำหรับใครที่สงสัยอยู่ในใจว่าเรียนอินเตอร์นั้นคุ้มค่ามั้ย พี่วินก็มาฟันธงให้รู้กันไปเลยว่าคุ้มแน่นอน ที่สำคัญพี่วินยังมาช่วยชี้ทางให้ว่าจะเลือกในสิ่งที่เราเก่งและถนัดจริง ๆ หรือว่าจะเลือกตามเทรนด์ในสิ่งที่ฮิตในปัจจุบัน พี่วินบอกไว้ว่าเลือกในสิ่งที่เราเก่งจริงถึงจะเป็นเรื่องที่ไม่ฮิตดีกว่า เพราะความฮิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
และที่ทำให้สวิทช์ในหัวของหลายคนจุดประกายขึ้นมาได้ ก็คือสิ่งที่พี่ปุ๊กปิ๊ก สนธยา ได้เล่าถึงประสบการณ์ตัวเองที่ผ่านทั้งแวดวงโฆษณาและมาร์เก็ตติ้งทั้งในไทยและอังกฤษ เคยเป็นคนไทยเพียงสองคนในตึกออฟฟิศ Unilever กลางลอนดอนท่ามกลางพนักงานทั้งหมดร่วม 2,000 คน ที่ได้นำประสบการณ์การทำงานระดับ Global มาสอนน้องต่อว่า การจะหาว่าตัวเองมี DNA ทางสาย Business ที่เข้มข้นแค่ไหน เริ่มต้นเช็คได้จากว่าเรามีคุณสมบัติสามข้อนี้มั้ย คือ
1. Radar for business ไม่ว่าจะไปที่ไหนเห็นแคมเปญ เห็นบิลบอร์ดสินค้าอะไร ให้ถามตัวเองว่าเราคิดให้ดีกว่าเค้าได้ไหม หรือคิดให้ต่างได้อย่างไร ไม่ว่าจะไปไหนมองอะไรก็สมองก็คิดพัฒนาต่อยอดไปได้อย่างไม่หยุดนิ่ง เพราะคนสาย Business ตัวจริงนั้นสมองเค้าแล่นกัน 24 ชั่วโมงไม่มีพักกันเลยด้วยซ้ำ
2. Open minded (yet persistent on what is right) เปิดกว้างในการรับฟังความเห็นคนอื่น แต่ก็ต้องชัดเจนในจุดยืนของตัวเอง
3. Self-regulating mindset เป็นเหมือนตุ๊กตาล้มลุก ที่ต้องรู้จักลุกและยืนขึ้นให้ได้ด้วยตัวเองเสมอ

ปิดท้ายด้วยเทคนิคดี ๆ ที่มีประโยชน์สุด ๆ ซึ่งพี่ปราโมทย์สรุปจากประสบการณ์ที่คร่ำหวอดของตัวเองมาแชร์กันก็คือ B.B.A Tips ที่ไม่ว่าใครที่นำข้อคิดนี้ไปใช้พัฒนาและสร้างโอกาสให้ตัวเองได้ ก็รับรองว่าเส้นทางแห่งความสำเร็จนั้นจะอยู่ไม่ไกลแน่นอน
1. Build your career capital การลงทุนในอาชีพตัวเอง เพื่อสร้างรากฐานแห่งความสำเร็จในสายงานซึ่งต้องใช้ทั้งทักษะที่มีบวกกับจุดแข็งในตัวเอง และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือประสบการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องเป็นการค่อย ๆ สะสมโดยไม่หยุดที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม
2. Brand yourself เพราะไม่ว่าจะทำอะไรมูลค่าของแบรนด์ย่อมเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามากที่สุดเสมอ ทั้งในแง่ของบริษัทหรือตัวบุคคล และสิ่งนี้ย่อมได้มาจากความเสมอต้นเสมอปลายไม่ย่ำอยู่กับที่ และต้องมี Performance การลงมือกระทำ Image ภาพพจน์ที่ดี และ Exposure โอกาสในการแสดงความสามารถนั้นออกมาให้ทุกคนรับรู้
3. Admit your mistakes การเรียนรู้และพัฒนาจากความผิดพลาดของเราเอง เพราะสิ่งที่จะสอนและให้ข้อคิดเราได้ดีที่สุดนั้นก็คือช่วงเวลาที่จะได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั่นเอง
สรุปกันง่าย ๆ ให้เห็นภาพชัด ๆ กันอีกที ถ้าใครที่อยากประสบความสำเร็จกับเส้นทางสายธุรกิจ แล้วคิดว่าตัวเองนั้นมีความกระตือรือร้น รู้จักยืดหยุ่น พลิกแพลง มองการณ์ไกล รู้จักตัวเองดี และไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เป็นคุณสมบัติเด่นในตัว ก็มุ่งไปเลยไม่ต้องเป็นกังวล แต่อีกสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะลืมไปไม่ได้ก็คือการลงมือทำ เพราะการลองให้รู้ด้วยตัวเองย่อมจะให้คำตอบได้ชัดที่สุด
และถ้าใครที่อ่านตามบทความนี้แล้วรู้สึกจุดประกายว่าอยากจะเดินตามรอยความสำเร็จเหล่านี้ ก็ต้องเริ่มขั้นแรกด้วยการศึกษาข้อมูลของทั้ง 5 คณะดังเหล่านี้ดูว่า Requirement มีอะไรบ้าง แล้วเริ่มเตรียมตัวให้ถูกทางตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่เครียดและได้ก้าวเข้าไปใกล้เส้นทางที่ตั้งใจได้อย่างมั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ