ChPE เป็นหลักสูตรน้องใหม่สายวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง เนื่องด้วยเมเจอร์ที่เรียนนั้นอินเทรนด์และเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบันเป็นอย่างมาก งานนี้ทาง Warwick Institute จึงได้เรียนเชิญ ดร. อัครวัต ศิริสุข ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ มาแนะนำโปรแกรมพร้อมเจาะลึกสถิติคะแนน TCAS 2022 Round 1 และ 2 ร่วมกันกับรุ่นพี่ Warwicksters น้องเค็น – เค็น มิยาเกะ นิสิต ChPE ป้ายแดง และบัณฑิตศิษย์เก่าซึ่งประสบความสำเร็จในการทำงานเป็นอย่างสูงในสหรัฐอเมริกาอย่าง ดร. จักร ตันธนะ ซึ่งตอนนี้ดำรงตำแหน่งเป็น Research Chemical Engineer ที่ RTI International, Durham, USA ทุกท่านเข้ามาร่วามบรรยายเพื่อให้ความรู้และ Insight ในเชิงลึกแก่ผู้ปกครองและนักเรียน
ChPE คืออะไร
ChPE หรือ Chemical and Process Engineering เป็นหลักสูตรอินเตอร์น้องใหม่ของวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ ภายใต้ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์เคมี โดยมีการบริหารจัดการแยกออกมาจาก ISE หรือ International School of Engineering จุฬาฯ
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างนิสิตให้เป็นวิศวกรเคมีที่มีความรู้ความสามารถที่ทันสมัยเพื่อตอบรับความต้องการของสังคมโลกผ่าน 2 เมเจอร์สุดล้ำอย่าง
- Bioprocess Engineering นิสิตจะได้เรียนเกี่ยวกับกระบวนการทางชีวภาพ รู้จักนำของเหลือจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ มองเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
- Sustainable Energy เจาะลึกการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงการออกแบบกระบวนการที่ทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุด เพื่อสังคมที่มั่นคงและยั่งยืน
จุดเด่นของ ChPE
- ChPE เป็นวิศวะ อินเตอร์ฯ หลักสูตรเดียวที่เรียนจบแล้วสามารถขอใบ ก.ว. หรือใบประกอบวิชาชีพได้ทันที เพราะหลักสูตรนี้ออกแบบโดยอิงตามกฏของสภาวิศวกร นับได้ว่าเป็นหลักสูตรวิศวะ อินเตอร์ เพียงหลักสูตรเดียวในจุฬาฯ ที่ได้รับใบ ก.ว. ทันทีเมื่อจบ
- นิสิตสามารถฝึกงานทั้งในและต่างประเทศได้นานถึง 6 เดือน อีกทั้งยังมีโอกาสไปเรียนแลกเปลี่ยนยังต่างประเทศได้ แถมยังยังคงกลับมาและเรียนจบภายใน 4 ปีเหมือนเดิม
- หลักสูตรนี้ได้ถูกดีไซน์ขึ้นใหม่เอี่ยมเพื่อรองรับความต้องการในปัจจุบันและอนาคตทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อจบมาแล้วมีโอกาสได้งานสูง

โอกาสการทำงานเป็นอย่างไร
บัณฑิตทุกคนที่จบจาก ChPE จักได้ใบ ก.ว. หรือใบประกอบวิชาชีพหลังจากเรียนจบ ทำให้มี ตัวเลือกที่หลากหลายในสายอาชีพของวิศวกรเคมี มีโอกาสในการทำงานในอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมกระดาษและบรรจุภัณฑ์ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมอาหาร

ประสบการณ์ตรงจากพี่บัณฑิต
ดร. จักร ตันธนะ นิสิตเก่าจากภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์เคมี จุฬาฯ กล่าวว่าการเข้ามาเรียนที่วิศวะ จุฬาฯ ได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยระเบียบวินัย ความอดทน และความมุ่งมั่น เพื่อพิชิตที่นั่งในคณะ แต่ก็ไม่ยากเกินความพยายามอย่างแน่นอน และการได้เรียนวิศวะ เคมี เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์และต่อยอดความฝันในวัยเด็กของตน เพราะนอกจากจะได้ทำการทดลองในห้องแล็บแล้วยังได้ลงพื้นที่จริงด้วย
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยนั้นให้ประสบการณ์หลากหลายอย่างมากกับ ดร. จักร รวมทั้งให้แรงบันดาลใจในการเป็นวิศวกรเคมีด้วยในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ได้ไปฝึกงานที่ University of Washington, Seattle ในด้าน Polyethylene Unit ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับ Dow Chemical นั้น ดร.จักรได้ทำที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับการแก้ไขและพัฒนาระบบการผลิตอันต้องใช้ความรู้ความสามารถที่เรียนมาในตัวเอง ดร. จักร ย้ำชัดว่าสิ่งที่ได้รับจากในห้องเรียนนั้นสามารถนำมาใช้ได้จริงในการทำงาน
หลังจากเรียนจบปริญญาตรี ดร. จักรได้มีโอกาสทำงานที่ประเทศไทย 2 ปี ปีแรกเป็น Production Engineer ที่ Siam Mitsui ทำงานเกี่ยวกับการผลิตเม็ดพลาสติกสำหรับขวดน้ำ PPE และเส้นใย Polyester สำหรับทำเสื้อ ส่วนปีต่อมาก็เปลี่ยนบริษัทมาทำในส่วน Process Engineer เกี่ยวกับสารซิลิโคน ที่ GE Toshiba Silicones
หลังจากนั้นเมื่อมีองค์ความรู้มากขึ้น คุณจักรก็อยากเรียนรู้เพิ่มขึ้นไปอีก จึงตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก จนกลายมาเป็น Research Chemical Engineer ในปัจจุบันที่ยังคงมีเลือดของความเป็นวิศวะ เคมี จุฬาฯ อยู่อย่างเต็มเปี่ยม


Admission Requirement 2022
จาก Requirement ปี 2022 ที่ผ่านมานั้้นเห็นได้ชัดว่าหลักสูตร ChPE เพิ่มโอกาสให้กับว่าที่นิสิตของตนสังเกตได้จากการเปิดรับคะแนนฝั่งวิทยาศาสตร์นั้น ChPE เปิดรับคะแนนดจากหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น College Board, ACT, IB, AP, A-Level และ CU-ATC
ที่น่าสนใจก็คือจากสถิติการยื่นคะแนนเข้าวิศวะ อินเตอร์ จุฬาฯ (อ้างอิงจากการยื่นคะแนนเข้าคณะ ISE Chula ของเด็กวอร์ริค) การยื่นคะแนนฝั่งวิทยาศาสตร์ด้วย CU-ATS มีภาษีสูงกว่าการยื่นคะแนน SAT และ ACT ดังนั้นการพิชิตคะแนน CU-ATS ให้ได้ 1300+ จะทำให้ว่าที่นิสิต ChPE มีแต้มต่อในการพิชิตที่นั่งได้มากกว่า แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือสามารถยื่นคะแนน CU-ATS Physics และ CU-ATS Chemistry แยกกันได้ โดยใช้คะแนนรอบที่ดีที่สุดอันนี้ ผอ. หลักสูตร ดร. อัครวัตยืนยันในงาน

เกณฑ์การรับนิสิตของ ChPE นั้นประกอบไปด้วย 3 ส่วน
- English Proficiency 20%
- Math 30%
- Science 50%
หลังจากนั้นจึงนำคะแนนของผู้สมัครทุกคนมาจัดลำดับ ใครที่ผ่านเกณฑ์ก็จะเข้าสู่กระบวนการสัมภาษณ์ในลำดับต่อไป ซึ่งผู้สมัครต้องได้คะแนนการสอบสัมภาษณ์ไม่ต่ำกว่า 50% จึงจะถือว่าสอบผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนิสิต ChPE Chula ซึ่ง ดร. อัครวัต ชี้ว่าการสัมภาษณ์ไม่ได้ซีเรียสมาก ไม่อยากให้นักเรียนเป็นกังวลนัก ปีที่ผ่านมายังไม่มีใครตกสัมภาษณ์กันสักคน ในส่วนของ GPAX และ Portfolio นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเตรียมมาและจะไม่ขอดูในปี 2023 นี้ด้วย
หากใครฝันอยากเป็นวิศวกรและสนใจงานทางด้านเคมีและกระบวนการ ChPE Chula จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งจะนำไปสู่โอกาสในการทำงานระดับสากลเหมือนกับที่รุ่นพี่ ดร. จักร ตันธนะได้กล่าวเอาไว้ หากนักเรียนและผู้ปกครองอยากเริ่มวางแผนเพื่อก้าวแรกสู่ ChPE Chula ก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick คลิก https://lin.ee/1s22ckD
