การดำเนินชีวิตและโอกาสในการประกอบอาชีพในศตวรรษที่ 21 นั้นต้องการคนที่รู้จริงและรู้รอบด้านก่อน หากอยากรู้ลึก
ค่อยไปศึกษาเพิ่มเติมกันต่อในแนวดิ่งได้ตามต้องการในการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ และนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้
BAScii กลายเป็นเป้าหมายของ New Gen แห่งศตวรรษที่ 21
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2020 สถาบันวอร์ริคได้จัดงาน BAScii Exclusive Talks โดยเชิญ ดร. Pietro Borsano
อาจารย์จากคณะสุดฮ็อต BAScii พร้อมนิสิตปัจจุบันมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวโปรแกรม
BAScii เรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการแห่งอนาคต
BAScii คือโปรแกรมอินเตอร์ในจุฬาฯ ที่ฉีกแนวคิดแบบเก่า กลุ่มผู้ก่อตั้งโปรแกรมนี้เน้นให้นิสิตได้เรียน 3 ศาสตร์คือ (1) Business (ทำธุรกิจเป็นรู้ว่าตลาดต้องการอะไร), (2) Design (ตอบโจทย์ผู้บริโภคผ่าน Design Thinking) & (3) Technology แล้วนำศาสตร์ทั้งสามมาผสมผสานกันและต่อยอดผ่าน Project-based Learning & Mentorship เพื่อให้นิสิตสามารถนำความรู้และ Skills มาทำงานให้ได้และทำงานกับคนอื่นให้เป็น โดยอาศัยการเรียนรู้แบบ Comb-shaped ให้ผู้เรียนเกิดความรู้รอบ และมีความเป็นนักเจาะลึกในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเกิดจากการสะสมประสบการณ์และสามารถผสมผสานศาสตร์การเรียนรู้ที่สามารถต่อยอดให้เกิดวิธีการและองค์ความรู้ใหม่ หรือที่เรียกว่า Transdisciplinary เพื่อตอบรับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

Source: https://inter-bascii-chula.com/program/
เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง
BAScii เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่าน Project-based learning ที่มีโปรเจคที่หลากหลายเป็นสนามจำลองให้ระดมความคิดและทดลองทำ นั่นก็เพราะต้องการสร้าง Soft Skills อันได้แก่ Communication, Collaboration, Creativity & Emotional Intelligence เพื่อที่จะขับเคลื่อนให้ความฝันและไอเดียใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งทักษะเหล่านี้หาไม่ได้จากในห้องเรียน แต่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีระบบ Mentorship โดยเหล่าคณาจารย์ระหว่างการทำโปรเจคเหล่านั้น คณะนี้จึงเป็นเหมือนสะพานที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงองค์ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และต่อยอดในชีวิตจริงได้อย่างสร้างสรรค์ พร้อมทั้งส่งเสริมให้นิสิตมี Soft Skills ที่แข็งแรงอีกด้วย
เรียนรู้กับองค์กรระดับโลก
บริษัทที่เป็นพันธมิตรกับ BAScii นั้นล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมชั้นนำ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Microsoft ที่ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 40 ปี เป็นที่รู้จักและมีลูกค้าอยู่ทั่วโลก, บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) จากบริษัทพลังงานแห่งชาติ สู่บริษัทพลังงานข้ามชาติ และ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ SCG บริษัทที่ต่อยอดธุรกิจได้อย่างสร้างสรรค์และเติบโตอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าบริษัทที่ถูกนำมายกตัวอย่างมานั้นล้วนเป็นบริษัทที่มีการก่อตั้งมาอย่างยาวนาน ผ่านวิกฤติและสถานการณ์ต่าง ๆ มาหลายต่อหลายครั้ง แต่ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง นั่นแปลว่านิสิตจะได้เข้าไปฝึกฝนและเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์จากกลุ่มบุคคลระดับหัวกะทิในแต่ละแขนงสายงานอย่างแน่นอน
เปิดกว้างการเรียนรู้ระดับสากล
นอกจากพันธมิตรที่เป็นบริษัทแล้ว BAscii ก็ยังมีพันธมิตรทางการศึกษาด้วย ไม่ว่าจะเป็น (1) UC Berkeley มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนีย (2) U of Washington มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในบริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา (3) Kyushu University มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น และ (4) Tsinghua University มหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศจีน อย่างไรก็ตามทางคณะนั้นมีพันธมิตรทางการเรียนรู้รวมกันกว่า 10 มหาวิทยาลัย และแน่นอนว่านิสิตทุกคนจะมีโอกาสได้ไปเรียนแลกเปลี่ยนกับเพื่อนต่างชาติพร้อมเพิ่มพูนศักยภาพอย่างสากลได้อย่างแน่นอน

อยากเป็นเด็ก BAScii นั้นไม่ยากถ้ามุ่งมั่นและตั้งใจ
เหล่านิสิตปัจจุบันและนิสิตป้ายแดงของทางคณะ ต่างก็มาร่วมแบ่งปันวิธีการเตรียมตัวที่หลากหลาย ซึ่งจะแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- ต้องทำความเข้าใจกับตัวเองก่อนว่าทำไมเราถึงอยากเข้าคณะนี้เพื่อที่จะสร้างแรงกระตุ้นและผลักดันตัวเองให้มีความมุ่งมั่น
- เช็คว่าเราต้องใช้คะแนนอะไรบ้างในการยื่นเพื่อเข้าศึกษาต่อ ถ้ามีเวลามากพอก็ค่อย ๆ ปลดล็อคไปทีละวิชา แต่ถ้าเวลามีน้อยก็ต้องพยายามให้มากฝึกฝนและปั่นคะแนน 2 – 3 วิชาควบคู่กันไป
- ยิ่งรู้ตัวเร็วยิ่งได้เปรียบ เพราะอย่าลืมว่า Portfolio เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน เราต้องใช้เวลาในการเก็บรวบรวมและร้อยเรียงออกมาให้ดีที่สุด
- ต้องให้เวลากับ Specific Requirement ในส่วนของ Aptitude Test และ Interview ด้วย เพราะเป็นอีก 2 ปัจจัยสำคัญที่จะตัดสินอนาคตของเรา
- ต้องแบ่งเวลาให้ดี ให้มีเวลาที่ได้พักผ่อนได้อยู่กับตัวเองด้วย เพราะความตึงเครียดอาจทำให้เราพลาด
เรียนคณะนี้ไม่มีคำว่าผิดหวัง
แต่ละรายวิชาที่นิสิตได้เรียนนั้นจะมีการเชื่อมโยงกันอย่างผสมผสานอย่างอัตโนมัติ เหล่าคณาจารย์จะคอยผลักดันให้นิสิตได้นำความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว พร้อมส่งเสริมทั้งให้นิสิตมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หลังจากเรียนแต่ละวิชาจบ อาจารย์จะมีโจทย์ให้นิสิตได้กลับไปคิดต่อยอดและลองนำองค์ความรู้ที่เพิ่งได้รับไปลองใช้จริง นอกจากนี้ทางคณะสนับสนุนให้นิสิตได้ไปแข่งขัน Start-up ในรายการต่าง ๆ ผ่าน Project Seed Program ที่นิสิตทุกคนจะได้เรียนรู้ทุกภาคเรียน ซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละโปรเจคก็จะมี Mentor ที่เชี่ยวชาญใน Start-up ด้านนั้น ๆ มาคอยให้คำปรึกษาและแนะนำให้กับแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมี Student Council ที่จะคอยสร้างมิตรภาพใหม่ ๆ สรรหากิจกรรมที่สนุกและสร้างสรรค์มาเสิร์ฟให้กับนิสิตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย เรียกได้ว่าเรียน BAScii ได้พัฒนาอย่างรอบด้านครบจบในที่เดียวจริง ๆ
Admission Requirement ของ BAScii เป็นอย่างไร
จากคะแนน 100 คะแนนเต็ม แบ่งเป็น Standardized Test (SAT Math) 30%, English Proficiency (SAT Verbal) 20%
และเป็น Specific Requirement อีก 50%

Specific Requirement จำแนกออกมาเป็น E-Portfolio 20%, Aptitude Test 10% และ Interview อีก 20% แน่นอนว่านักเรียนส่วนใหญ่ที่อยากเข้าเรียนโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ นั้นมีคะแนน SAT ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว นั่นหมายความว่าทุกคนต้องแข่งขันผ่านคะแนนจากส่วนของ Specific Requirement ที่หลายคนไม่อาจคาดเดาแนวข้อสอบหรือข้อคำถาม และอาจเป็นตัวพลิกเกมทำให้บางคนที่มีคะแนน SAT ระดับปานกลางกลับมามีคะแนนนำได้ไม่ยาก เพราะอีก 50% ของคะแนน เพื่อพิชิตที่นั่งใน BAScii คือ Specific Requirement แล้วเราจะมีวิธีพิชิตได้อย่างไร
มีคำถามข้อสงสัยหรืออยากทราบเทคนิคการเรียกคะแนนในส่วนของ Specific Requirement สามารถสอบถามรายละเอียด
เพิ่มเติมได้ที่ Warwick Institute 02-658-4880 หรือ LINE: @warwick
#Transdisciplinary
#แนวความคิดทางการศึกษาในศตวรรษที่21